https://www.gerb.com/technical-insights
info@gerb.com

กรณีศึกษาเกี่ยวกับเทคโนโลยีการหน่วงแรงสั่นสะเทือนสำหรับอาคารสูง: ความสบายและความปลอดภัย

แนวทางสำหรับระบบหน่วงการสั่นสะเทือนของสมาคมอาคารสูงและการอยู่อาศัยในเขตเมือง (Council on Tall Buildings and Urban Habitat, CTBUH)

หอทดสอบ Thyssen Krupp เมือง Rottweil ประเทศเยอรมนี

รายละเอียดโครงการ

  • ปีที่สร้างเสร็จ:
    2016 (โครงสร้างชั้นสูงสุด)
  • ผู้พัฒนา/ผู้รับเหมา/เจ้าของ:
    Krupp Hoesch Stahl GmbH / Thyssen Krupp Elevators
  • สถาปนิก:
    Werner Sobek ร่วมกับ JAHN Architects สาขาสตุทการ์ทและชิคาโก
  • วิศวกรโยธา:
    Werner Sobek จากสตุทการ์ท
  • ผู้จัดจำหน่ายอุปกรณ์หน่วงการสั่นสะเทือน:
    GERB Vibration Control Systems
  • ห้องปฏิบัติการที่ทำการทดสอบ:
    Wacker Ingenieure (วิศวกรรมลม / การทดสอบในอุโมงค์ลม)
  • ความสูง / ความสูงระหว่างชั้น:
    246 ม. / 3.3 ม. (พื้นที่สำนักงาน)
  • อัตราส่วนความชะลูด:
    1/11.8
  • จำนวนชั้น:
    27 ชั้น / พื้นที่สำนักงาน 8 ชั้น
  • พื้นที่ทั้งหมดของอาคาร:
    340 ตารางเมตร
  • หน้าที่ใช้สอยของอาคาร:
    หอทดสอบลิฟต์ / สำนักงาน / ดาดฟ้าสำหรับสังเกตการณ์ (232 ม.)
  • วัสดุโครงสร้าง:
    คอนกรีดอัดแรง (C50/60) / เปลือกอาคารด้วยแผ่นผนังพอลิเตตระฟลูออโรเอทิลีน (PTFE) บนโครงสร้างเหล็ก
  • ระบบโครงสร้าง:
    แกนรับน้ำหนักคอนกรีตเสริมเหล็กที่ยื่นออกมาจากฐานรากแพ
    (- 32 ม.)
  • กลยุทธ์การหน่วงแรงสั่นสะเทือนที่ใช้:
    ระบบตัวหน่วงการสั่นสะเทือนด้วยมวลแบบไฮบริด (240 ตัน)

1.0 บทนำ/ประวัติความเป็นมา

หอสูง 246 ม. นี้ตั้งอยู่ในภาคตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศเยอรมนี โดยสร้างขึ้นเพื่อเป็นอาคารสำหรับทดสอบนวัตกรรมของลิฟต์ หอนี้มีผังอาคารเป็นรูปวงกลมที่มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 20 ม. และมีพื้นที่ปล่องลิฟต์สำหรับทดสอบลิฟต์ได้ 9 ตัว ลิฟต์สำหรับใช้ในกรณีเพลิงไหม้หนึ่งตัว และลิฟต์แก้วที่เห็นทิวทัศน์ได้ในมุมกว้างอีกหนึ่งตัว นอกจากนี้ยังมีปล่องสูง 220 ม. อีกหนึ่งปล่องที่สามารถใช้เป็นปล่องลิฟต์เชิงกลเพื่อรับรองโปรแกรมทดสอบด้วย

ฐานอาคารเป็นรูปวงกลมที่มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 40 ม. ซึ่งเป็นพื้นที่เพิ่มเติมสำหรับงานระบบอาคาร โถงต้อนรับ และศูนย์ศึกษา ที่ความสูง 232 ม. มีดาดฟ้าสำหรับสังเกตการณ์ที่สูงที่สุดในประเทศเยอรมนี สามารถมองเห็นทิวทัศน์ที่งดงามของป่าดำและเห็นไปถึงเทือกเขาแอลป์ในวันที่อากาศแจ่มใส

รูปที่ 1 - หอทดสอบในเมือง Rottweil ประเทศเยอรมนี

2.0 ระบบโครงสร้าง

ระบบโครงสร้างของหอทดสอบเป็นท่อคอนกรีตอัดแรงที่มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 20.8 ม. ปักยึดแน่นเข้าไปในดินลึก 30 ม. (ดูรูปที่ 2) ผนังท่อนี้มีความหนา 40 ซม. จากฐานถึงความสูงที่ระดับ 110 ม. และจากระดับความสูงดังกล่าวเป็นต้นไปผนังท่อจะหนา 25 ซม. ดินในบริเวณนั้นเป็นชั้นหินแข็งที่เรียกว่า Keuper และมีชั้นหินปูนที่เกิดจากการทับถมของเปลือกหอยในยุคดึกดำบรรพ์อยู่ด้านใต้ ทำให้สามารถรับน้ำหนักได้สูง จึงไม่จำเป็นต้องมีการตอกเสาเข็มก่อนวางฐานราก นอกจากดินในบริเวณโดยรอบจะยึดให้หอตั้งอยู่อย่างมั่นคงแล้ว โครงสร้างฐานที่กว้างของหอก็ช่วยเสริมความแข็งแกร่งด้านข้างให้กับหอด้วย

การเสริมความแข็งแกร่งภายในของท่อคอนกรีตส่วนใหญ่เกิดจากผนังด้านในของปล่องลิฟต์ มีการติดตั้งแผ่นฝ้าเพดานสำเร็จรูปไว้ที่บางระดับความสูงเพื่อให้สามารถเข้าถึงปล่องลิฟต์ได้ ปล่องลิฟต์บางปล่องสิ้นสุดที่ระดับความสูง 115 ม. และปิดด้วยแผ่นพื้นช่วงพาดยาวหนา 40 ซม. ซึ่งเป็นพื้นแบบหล่อในที่ ชั้นอาคารเหล่านี้ใช้เป็นพื้นที่สำนักงาน ถัดขึ้นไปด้านบนเป็นพื้นที่ว่างเปล่าจนถึงที่ระดับความสูง 197 ม. ซึ่งใช้เป็นพื้นที่กักเก็บความร้อนและพื้นที่สำหรับระบบมวลหน่วงปรับค่า (TMD) ส่วนบนสุดของหอใช้เป็นพื้นที่สำนักงานและพื้นที่สำหรับปล่องลิฟต์ที่เหลือ

รูปที่ 2 - การปักยึดลงไปในดิน (ที่มา: Werner Sobek จากสตุทการ์ท)

องค์ประกอบที่โดดเด่นของหอทดสอบนี้คือผนังด้านนอกของอาคารที่ทำจากแผ่นตาข่ายใยแก้วเคลือบด้วยพอลิเตตระฟลูออโรเอทิลีน (PTFE) ช่องตาข่ายกว้างขึ้นตามความสูงที่เพิ่มขึ้นของอาคาร โดยยิ่งสูงก็จะยิ่งโปร่งมากขึ้น ซึ่งช่วยลดความหนาแน่นและน้ำหนักของวัสดุและลดแรงต้านอากาศ

รูปทรงที่เป็นเกลียวของผนังด้านนอกของอาคารทำหน้าที่เป็นเกลียวลดการสั่นสะเทือนหรือเกลียว Scruton และตัวแผ่นผนังเองช่วยให้ร่มเงาแก่โครงสร้างคอนกรีตเพื่อหลีกเลี่ยงความเค้นที่เกิดจากความร้อนของแสงอาทิตย์ การออกแบบและการเลือกใช้วัสดุของผนังด้านนอกของอาคารคำนึงถึงการติดตั้ง การบำรุงรักษา ความคงทน และการรับแรงลม

3.0 ขั้นตอนการก่อสร้าง

รูปที่ 3 - การปักยึดลงไปในดิน (ที่มา: Züblin AG)

การก่อสร้างหอทดสอบมีขั้นตอนดังต่อไปนี้:

  • การขุดหลุมกลมลึก 30 ม. เพื่อวางฐานรากของอาคาร การขุดหลุมกลมนี้ทำได้โดยการวางระเบิด หลังจากขุดหลุมแล้ว มีการยึดไม่ให้ดินถล่มลงมาด้วยการฝังสมอยึดดินและการพ่นคอนกรีต
  • การเทฐานรากแพ
  • การก่อสร้างโครงสร้างคอนกรีตในแนวตั้งใช้การหล่อคอนกรีตแบบเลื่อน โดยมีการสร้างผนังทั้งหมดอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 4 เดือน
  • การก่อสร้างแผ่นพื้น
  • การก่อสร้างบริเวณทางเข้า

4.0 การตอบสนองทางพลศาสตร์ต่อแรงลมที่คาดไว้

ความถี่พื้นฐานของหอทดสอบคาดว่าจะอยู่ในช่วง 0.17 Hz – 0.20 Hz ต่อวินาที โดยขึ้นอยู่กับขั้นตอนการก่อสร้างและสถานะของคอนกรีต (แตกร้าว/ไม่แตกร้าว) – ดูรูปที่ 4

รูปที่ 4 - รูปแบบการสั่นสำหรับการสั่น 1-3 / ความถี่พื้นฐาน 0.18 Hz และ 0.19 Hz (ที่มา: Werner Sobek จากสตุทการ์ท)

การวิเคราะห์ลมพบว่าจะเกิดการสั่นของโครงสร้างที่ความเร็วลมที่ตรงกับค่าความเร็วลมที่ระดับพื้นดิน (ความสูง 10 ม.) ซึ่งก็คือในช่วง 55 – 60 กม./ชม. หากไม่มีการหน่วงแรงสั่นสะเทือนเพิ่มเติม คาดว่าการสั่นของโครงสร้างนี้จะทำให้ส่วนบนของอาคารเบี่ยงจากตำแหน่งเดิมไปประมาณ +/- 750 มม. ซึ่งนอกจากจะทำให้ผู้คนในอาคารรู้สึกไม่สบายแล้ว ยังทำให้โครงสร้างคอนกรีตของอาคารเกิดความล้าเป็นอย่างมากด้วย ซึ่งจะลดอายุการใช้งานของโครงสร้าง (ดูรูปที่ 5) เพื่อลดการตอบสนองทางพลศาสตร์ที่มีต่อการสั่นที่เกิดจากแรงลมที่มาปะทะด้านข้าง จึงมีการใช้ระบบมวลหน่วงปรับค่าแบบแพสซีฟ เนื่องจากอาคารนี้จะใช้เป็นหอทดสอบความไวของอุปกรณ์ลิฟต์ที่มีต่อการแกว่งของอาคาร เจ้าของโครงการจึงมองหาความเป็นไปได้ที่จะ 

กระตุ้นอาคารให้แกว่งเทียมในวันที่ลมสงบ ซึ่งทำให้เกิดการขจัดที่ไม่ก่อให้เกิดปัญหาเรื่องความล้า ระดับการแกว่งเทียมตามคำขอของเจ้าของโครงการและถือว่าปลอดภัยคือประมาณ +/- 200 มม. คำขอของเจ้าของโครงการนี้เป็นโอกาสที่หาได้ยากในการใช้ตัวหน่วงการสั่นสะเทือนด้วยมวลแบบไฮบริด (Hybrid Mass Damper, HMD) หรือที่เรียกว่า มวลหน่วงปรับค่าที่ใช้งานได้สองแบบ (Dual Use TMD) เนื่องจากระบบการออกแบบแตกต่างไปจากระบบตัวหน่วงการสั่นสะเทือนด้วยมวลแบบไฮบริดอื่นๆ ที่เคยใช้ในอดีต ในบทถัดไปจะมีการนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับระบบนี้ รวมถึงการปรับแต่งระบบแพสซีฟ การออกแบบกลไกหัวขับ ขั้นตอนวิธีการควบคุม และแนวคิดด้านความปลอดภัย

รูปที่ 5 - การทดสอบโดยใช้อุโมงค์ลมของหอทดสอบ (ที่มา: Wacker Ingenieure)

5.0 การปรับแต่งระบบมวลหน่วงปรับค่าแบบแพสซีฟ

ต้องระบุตัวแปรของระบบมวลหน่วงปรับค่าแบบแพสซีฟโดยคำนึงถึงสามประเด็น ได้แก่ ก) เพื่อให้การหน่วงแรงสั่นสะเทือนเพิ่มเติมแก่โครงสร้างอย่างเพียงพอ เพื่อลดการตอบสนองทางพลศาสตร์ที่เกิดจากการสั่นเมื่อมีกระแสลมไหลวน ข) เพื่อจำกัดการเคลื่อนที่ของมวลหลักของมวลหน่วงปรับค่าในการสั่นแพสซีฟที่เกิดขึ้นให้อยู่ในค่าที่เป็นไปได้และสมเหตุสมผล สำหรับเวลาที่เกิดการสั่นเนื่องจากแรงลมกรรโชกที่มาปะทะด้านข้าง และ ค) เพื่อเลือกมวลหน่วงปรับค่าให้สอดคล้องข้อมูลของพลังงานที่จะทำให้เกิดการเบี่ยงสูงสุดจากตำแหน่งเดิมของอาคารในการสั่นกระตุ้น โดยพิจารณาประสิทธิภาพในการต้านแรงลมที่เกิดขึ้นจากหัวขับที่มี 

(หรือ แรงสูงสุดที่เกิดขึ้นและช่วงจังหวะชักสูงสุดในระหว่างการปฏิบัติงาน) มีการใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์เพื่อปรับแต่งระบบมวลหน่วงปรับค่า ซึ่งแสดงถึงการกระจายมวลน้ำหนักของอาคารและโมเมนต์ความเฉื่อยของมวลตามที่รายงานไว้ในคุณสมบัติทางโครงสร้างที่กำหนด องค์ประกอบเพื่อความแข็งแกร่งระหว่างพื้นอาคารได้รับการออกแบบมาให้สอดคล้องกับรูปแบบการสั่นและความถี่ธรรมชาติที่ได้จากการสังเกตการณ์อย่างเต็มรูปแบบ รูปที่ 6 ซ้าย แสดงรูปแบบการสั่นและความถี่ธรรมชาติของแบบจำลองเปรียบเทียบที่ใช้ นอกจากนี้ รูปที่ 6 ซ้าย ยังแสดงรูปแบบการสั่นของแบบจำลองเปรียบเทียบโดยเทียบกับต้นแบบอย่างละเอียดของที่จัดทำโดยปรึกษาด้านโครงสร้างด้วย

รูปที่ 6 - การสั่นที่เกี่ยวข้องและความถี่ธรรมชาติที่คำนวณได้สำหรับการปรับเทียบแบบจำลอง – การเปรียบเทียบรูปแบบการสั่น
รูปที่ 7 - บน: บันทึกเวลาที่สร้างสำหรับแรงลมที่ปะทะด้านข้างและสเปกตรัม FFT ที่เกิดขึ้น – ล่าง: การขจัดของอาคารที่มีและไม่มีการปรับแต่งมวลหน่วงปรับค่าและการขจัดของมวลหน่วงปรับค่าที่เกิดขึ้น

นอกจากนี้ ยังมีการสร้างแบบจำลองมวลหน่วงปรับค่าแยกต่างหากให้เป็นระบบลูกตุ้มที่สามารถจับตำแหน่งเยื้องศูนย์กลางของตัวมวลเองในหออาคารได้ด้วย คุณลักษณะของน้ำหนักกระทำสำหรับควบคุมแรงป้อนที่มากระทำหรือการสั่นของโครงสร้างเนื่องจากกระแสลมไหลวนก็เหมือนกับการกระตุ้นให้เกิดการสั่นด้วยการเคลื่อนที่แบบฮาร์มอนิกอย่างง่าย อย่างไรก็ตาม แรงลมกรรโชกที่มีอยู่เป็นลักษณะตามธรรมชาติที่เกิดขึ้นแบบสุ่ม ดังนั้นจึงต้องใช้เกณฑ์ในการปรับแต่งอื่นที่นอกเหนือจากเกณฑ์ Den Hartog อันเป็นที่รู้จักกันดี นอกจากนี้ การเคลื่อนที่สัมพัทธ์ของมวลหน่วงปรับค่าของแรงลมแบบสุ่มยังมากกว่าแบบฮาร์มอนิกด้วย การกำหนดค่าตัวเลขของตัวแปรที่เหมาะสมของมวลหน่วงปรับค่าควรพิจารณาแรงลมที่ใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุด บันทึกเวลาที่สร้างขึ้นมีทั้งแรงลมกรรโชกแบบสุ่ม (ตามสเปกตรัม Davenport) และการสั่นที่มีความถี่ตรงกัน กระแสลมไหลวน ส่วนประกอบที่แสดงถึงการสั่นที่เกิดจากแรงลมที่มาปะทะด้านข้างโดยรวม (ดูรูปที่ 3 ขวา) การลดการเบี่ยงจากตำแหน่งเดิมของอาคารเกิดจากระบบมวลหน่วงปรับค่าแบบแพสซีฟที่ปรับแต่งแล้ว และการขจัดของมวลหน่วงปรับค่าที่เกิดขึ้นแสดงอยู่ในรูปที่ 3 ขวา

จากผลการทดสอบเหล่านี้ที่มีค่าการหน่วงแรงสั่นสะเทือนโดยธรรมชาติของโครงสร้างโดยประมาณ ξ=0.8 % สามารถระบุได้ว่าต้องใช้มวลหน่วงปรับค่าหนัก 240 ตันเพื่อให้ได้การขจัดในขอบเขต +/- 650 มม. โดยที่ยังคงรักษาอัตราการหน่วงของมวลหน่วงปรับค่าไว้ได้ในระดับที่เหมาะสม  เพื่อให้มวลหน่วงปรับค่ามีประสิทธิภาพสูงสุด การหน่วงที่เพิ่มขึ้นของมวลหน่วงปรับค่าจะช่วยลดระยะการเคลื่อนที่พร้อมทั้งยังคงมีสมรรถนะที่เพียงพอ แต่อาจส่งผลเสียต่อแรงที่เกิดจากหัวขับ เพื่อระบุแรงที่ต้องใช้ให้การปรับตั้งมวลหน่วงปรับค่าขนาด 240 ตันให้เหมาะสม จึงมีการใช้แบบจำลองเปรียบเทียบเพื่อตรวจสอบว่า ด้วยแรงสูงสุด 40 กิโลนิวตันจากหัวขับ อาคารจะเบี่ยงจากตำแหน่งเดิมในช่วง +/- 200 มม. ได้หรือไม่ รูปที่ 4 แสดงผลของการจําลองระเบียบวิธีเชิงตัวเลขที่ขึ้นอยู่กับเวลาบนแบบจำลองเปรียบเทียบทางคณิตศาสตร์ ซึ่งในที่นี่แสดงการเบี่ยงจากตำแหน่งเดิมของส่วนบนสุดของอาคารที่เกิดขึ้น การเบี่ยงจากตำแหน่งเดิมของมวลหน่วงปรับค่า และแรงอินพุตกระทำอย่างต่อเนื่องที่เป็นสาเหตุของการเบี่ยงจากตำแหน่งเดิมดังกล่าว

รูปที่ 8 - สายแขวนลูกตุ้มที่รองรับมวลหน่วงปรับค่า
รูปที่ 9 - มอเตอร์เชิงเส้นทำหน้าที่เป็นหัวขับ

6.0 คำอธิบายระบบควบคุม

การทำงานเป็นคู่ของระบบควบคุมตอบโจทย์ ก) วัตถุประสงค์ในลดการใช้พลังงานในขณะทำงานแบบแพสซีฟตามปกติเพื่อลดแรงสั่นสะเทือนที่เกิดขึ้น ข) วัตถุประสงค์ในการลดแรงที่หัวขับต้องใช้ด้วยการใช้ปรากฏการณ์เรโซแนนซ์เพื่อกระตุ้นมวลหน่วงปรับค่าหลักให้ได้แรงจริงสูงสุดตามที่ต้องการ ดังนั้นเมื่อเทียบกับระบบควบคุมอื่นๆ (ดูรูปที่ 1) หัวขับจะเชื่อมต่อโครงสร้างหลักและมวลหน่วงปรับค่าเข้าด้วยกัน แต่ไม่ใช้เพื่อควบคุมมวลหน่วงปรับค่าโดยตรง มิฉะนั้นจะกลายเป็นระบบตัวขับมวลแบบแอคทีฟ (Active Mass Driver) หรือตัวหน่วงทั่วไป

สำหรับมวลหน่วงปรับค่าที่ใช้งานได้สองแบบ (Dual Use TMD) ที่ใช้ อาคารนี้เลือกใช้มวลตอบสนองสำหรับการทำงานแบบแพสซีฟที่มีน้ำหนัก 240 ตัน สำหรับการสั่นกระตุ้นมีหัวขับเชิงเส้นสองหัว หนึ่งหัวต่อหนึ่งทิศทางหลัก ซึ่งยึดติดอยู่กับมวลหน่วงปรับค่าด้วยข้อต่อหมุนใกล้กับจุดศูนย์ถ่วงของมวลเพื่อหลีกเลี่ยงแรงบิดที่ไม่พึงประสงค์  หัวขับเชิงเส้นแต่ละตัวสามารถสร้างแรงได้ถึง 40 กิโลนิวตันได้ภายในช่วงชักสูงสุด +/- 600 มม. เพียงช่วงเดียว (ดูรายละเอียดในรูปที่ 2) หัวขับเชิงเส้นสามารถถอดออกได้ ดังนั้นการสั่นแบบแพสซีฟทั้งหมดจะไม่ได้รับผลกระทบจากตลับลูกปืนของหัวขับในกรณีที่ตลับลูกปืนเกิดความขัดข้อง ซึ่งเป็นกรณีที่เกิดขึ้นได้ยาก

รูปที่ 10 – ประเภทของระบบควบคุม – มวลหน่วงปรับค่าที่ใช้งานได้สองแบบ (Dual Use TMD) เทียบกับระบบแพสซีฟ กึ่งแอคทีฟ แอคทีฟและไฮบริด

ระบบประกอบด้วยมาตรวัดความเร่งแกนเดียวสี่ตัว (คานรูปตัว K สำหรับรับแรงแผ่นดินไหว/MEMS หนึ่งคานต่อหนึ่งทิศทาง) เพื่อระบุระดับสูงสุดของอาคารและความเร่งของมวลหน่วงปรับค่า สัญญาณความเร่งจะถูกกรองความถี่ภายในช่วงความถี่ธรรมชาติพื้นฐานของอาคาร (0.1 – 0.3 Hz) และหาค่าปริพันธ์เพื่อให้ความเร็วและการเบี่ยงจากตำแหน่งเดิมแก่อาคาร

นอกจากนี้ ค่าการขจัดที่หาค่าปริพันธ์แล้วสามารถนำไปเปรียบเทียบกับค่าที่วัดได้จากระบบนำทางด้วยดาวเทียมที่ติดตั้งเสริมไว้ที่ด้านบนสุดได้ด้วย เพื่อเปรียบเทียบค่าคลาดเคลื่อนของสัญญาณ จากนั้นจะทำการทดสอบสหสัมพันธ์ตามข้อมูลที่ได้ นอกจากนี้ มีการควบคุมการขจัดของมวลหน่วงปรับค่าโดยตรงด้วยอุปกรณ์แปลงพลังงานหรือทรานสดิวเซอร์แบบขดลวดและระบบวัดความยาวแบบเหนี่ยวนำที่อยู่ในมอเตอร์เชิงเส้น

7.0 ขั้นตอนวิธีการควบคุม

วงจรการควบคุมทั่วไปของอาคารแสดงไว้ในรูปที่ 5 ซึ่งแสดงลำดับการควบคุมแบบวงจรปิด การออกแบบอย่างละเอียดของขั้นตอนวิธีการควบคุมจะต้องมีแบบจำลองเชิงวิเคราะห์ของปฏิสัมพันธ์ระหว่างหัวขับกับมวลหน่วงปรับค่า เพื่อระบุความสัมพันธ์ระหว่างอินพุตแรงจากหัวขับและแรงกระทำที่ใช้ ซึ่งต้องใช้ร่วมกับแบบจำลองเชิงวิเคราะห์ของโครงสร้างหลักที่อธิบายพฤติกรรมเชิงพลศาสตร์โดยรวมของอาคาร นอกจากนี้ เมื่อเปรียบเทียบกับขั้นตอนวิธีการควบคุมมาตรฐานที่ใช้กับตัวหน่วงการสั่นสะเทือนด้วยมวลแบบไฮบริด (HMD) เช่น ใน [2],[3] หรือที่ได้รับการตรวจสอบทางทฤษฎีแล้วอย่างใน [1]  ขั้นตอนวิธีการควบคุมที่ใช้กับอาคารนี้จึงต้องคำนึงถึงการกระตุ้นที่ได้รับการควบคุมแบบประสานเวลาในทิศทางหลักเพียงทิศทางเดียวและการลดแรงสั่นสะเทือนในทิศทางตั้งฉาก เนื่องจากมีการคาดว่าการตอบสนองทางพลศาสตร์ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นในการสั่นพื้นฐาน ทั้งสองงานจึงควรใช้การควบคุมสัญญาณตอบกลับเชิงเส้นรวมทั้งประโยชน์ทั้งหมดของการควบคุมนี้เพื่อหลีกเลี่ยงความไม่มั่นคง สำหรับการควบคุมอย่างง่ายที่ใช้งานจริง การควบคุมสัญญาณตอบกลับเชิงเส้นที่ลดการตอบสนองทางพลศาสตร์ของอาคารที่มีต่อการกระตุ้นในทิศทางตั้งฉาก จะขับหัวขับที่เกี่ยวข้องด้วยผลรวมเชิงเส้นถ่วงน้ำหนักจำเพาะของค่าพลศาสตร์ของโครงสร้างทั้งเจ็ด ซึ่งค่าเหล่านี้ ได้แก่: ความเร่งของมวลหน่วงปรับค่าและส่วนบนสุดของอาคาร ความเร็วของมวลหน่วงปรับค่าและส่วนบนสุดของอาคาร การขจัดของมวลหน่วงปรับค่าและส่วนบนสุดของอาคาร และการขจัดสัมพัทธ์ระหว่างมวลหน่วงปรับค่าและส่วนบนสุดของอาคาร

สิ่งสำคัญคือต้องจำไว้ว่าแฟกเตอร์ถ่วงน้ำหนักที่เลือกจะต้องเป็นค่าเพิ่มสเกลาร์จำนวนเต็มบวกหรือลบ การกำหนดค่าตัวแปรของแฟกเตอร์ถ่วงน้ำหนักขึ้นอยู่กับการทดสอบทางพลศาสตร์ของอาคารและไม่ใช้การปรับเปลี่ยนที่อิงกับความถี่ สัญญาณตอบกลับของหัวขับที่เกิดขึ้นจะได้รับการคำนวณในทันที (ที่ 50 Hz) และเป็นผลรวมเชิงเส้นของค่าพลศาสตร์ที่วัดได้ก่อนหน้านั้น ไม่ใช้การจัดการกับค่าที่ไม่ใช่ค่าเชิงเส้น การออกแบบการควบคุมถูกใช้ในการจําลองระเบียบวิธีเชิงตัวเลขที่ขึ้นอยู่กับเวลา (หรือการหาค่าปริพันธ์โดยตรง) เพื่อเป็นหลักฐานแสดงประสิทธิภาพของหัวขับในการควบคุมการลดแรงสั่นสะเทือน สำหรับการสั่นกระตุ้นจะใช้แนวทางการควบคุมเดียวกันนี้ร่วมกับค่าชดเชยการขจัดที่แสดงให้เห็นถึงการกระตุ้นให้อาคารสั่นจนถึงค่าการขจัดที่ต้องการ ค่าชดเชยนี้เป็นฟังก์ชันเส้นโค้งไซน์ของความถี่พื้นฐานที่ตรวจวัดได้ในแต่ละทิศทาง เอาต์พุตจากการควบคุมที่หักล้างความแปรผันของการขจัดที่ส่วนบนสุดของอาคารเนื่องจากสิ่งรบกวนอื่นๆ จะถูกปรับลดในฟังก์ชันเส้นโค้งไซน์ของค่าชดเชย และค่าควบคุมจะถูกปรับตาม

รูปที่ 11 - การทำงานของวงจรควบคุมสัญญาณตอบกลับ

การควบคุมสัญญาณตอบกลับเชิงเส้นที่ลดการตอบสนองทางพลศาสตร์ของอาคารที่มีต่อการกระตุ้นในทิศทางตั้งฉากทำให้สามารถระบุคำสั่งแรงที่หัวขับได้ ซึ่งเป็นผลรวมเชิงเส้นถ่วงน้ำหนักจำเพาะของค่าพลศาสตร์ทั้งเจ็ดของโครงการ ซึ่งค่าทั้งเจ็ดนี้ ได้แก่: ความเร่งของมวลหน่วงปรับค่าและอาคาร ความเร็วของมวลหน่วงปรับค่าและอาคาร การขจัดของมวลหน่วงปรับค่าและอาคาร และการขจัดสัมพัทธ์ระหว่างมวลหน่วงปรับค่าและอาคาร สิ่งสำคัญคือต้องจำไว้ว่าแฟกเตอร์ถ่วงน้ำหนักจะต้องเป็นค่าสเกลาร์จำนวนเต็มบวกหรือลบ การกำหนดค่าตัวแปรของแฟกเตอร์ถ่วงน้ำหนักขึ้นอยู่กับการทดลองทางพลศาสตร์ของอาคาร สัญญาณตอบกลับของหัวขับที่เกิดขึ้นจะได้รับการคำนวณในทันที (ที่ 50 Hz) 

และแฟกเตอร์ถ่วงน้ำหนักเป็นค่าสเกลาร์ ซึ่งไม่ใช้ฟังก์ชันถ่ายโอนที่อิงกับความถี่ในทุกรูปแบบ และสัญญาณตอบกลับเป็นผลรวมเชิงเส้นของคุณสมบัติทางพลศาสตร์ ไม่ใช้การจัดการหรือตรรกะกับค่าที่ไม่ใช่ค่าเชิงเส้น การออกแบบการควบคุมถูกใช้ในการจําลองระเบียบวิธีเชิงตัวเลขที่ขึ้นอยู่กับเวลา (หรือการหาค่าปริพันธ์โดยตรง) ดังนั้นสามารถปรับอินพุตแรงที่กระทำต่อมวลถ่วงปรับค่าในฐานะแรงควบคุมหัวขับได้ในแต่ละขั้นของเวลา รูปที่ 12 แสดงผลของการจําลองระเบียบวิธีสำหรับการยับยั้งแรงสั่นสะเทือน – การขจัดของอาคาร และการเคลื่อนที่ของมวลถ่วงปรับค่าที่เกิดขึ้น

รูปที่ 12 - บน: บันทึกเวลาการเบี่ยงจากตำแหน่งเดิมของอาคารที่คำนวณได้ การขจัดของมวล และแรงหัวขับจากการวิเคราะห์ทางคณิตศาสตร์ที่ขึ้นอยู่กับเวลา เพื่อทดสอบขั้นตอนวิธีการควบคุมสำหรับการยับยั้งแรงสั่นสะเทือนที่ใช้มวลหน่วงปรับค่าที่ใช้งานได้สองแบบ (Dual Use TMD)

สำหรับการสั่นกระตุ้นจะใช้แนวทางการควบคุมเดียวกันนี้ร่วมกับค่าชดเชยที่แสดงให้เห็นถึงการกระตุ้นให้อาคารสั่นจนถึงค่าการขจัดที่ต้องการ ค่าชดเชยนี้เป็นฟังก์ชันเส้นโค้งไซน์ของความถี่พื้นฐานที่ตรวจวัดได้ในแต่ละทิศทาง เอาต์พุตจากการควบคุมที่หักล้างความแปรผันของการขจัดที่ส่วนบนสุดของอาคารเนื่องจากสิ่งรบกวนจะถูกปรับลดในฟังก์ชันเส้นโค้งไซน์ของค่าชดเชย

 และต้องปรับค่าควบคุมตาม การระบุแฟกเตอร์ถ่วงน้ำหนักสำหรับค่าชดเชยนี้จะระบุโดยลองเปลี่ยนค่าไปเรื่อยๆ จนกว่าจะได้ค่าที่เหมาะสม รูปที่ 13 แสดงผลลัพธ์ที่เป็นตัวเลขที่มีการรบกวนของน้ำหนักกระทำจากแรงลมกรรโชกสำหรับการสั่นกระตุ้นโดยมีการกระตุ้นแบบสมการไซน์อย่างง่ายและขั้นตอนวิธีการควบคุมที่ใช้

รูปที่ 13 - ผลลัพธ์ของการสั่นกระตุ้นที่มีการรบกวนของน้ำหนักกระทำจากแรงลมกรรโชกสำหรับการสั่นกระตุ้นโดยมีการกระตุ้นแบบสมการไซน์อย่างง่ายและขั้นตอนวิธีการควบคุมที่ใช้

8.0 แนวคิดด้านความปลอดภัย

เมื่อพิจารณาแรง +/- 40 กิโลนิวตันซึ่งสร้างจากหัวขับเชิงเส้นที่ใช้ แนวคิดด้านความปลอดภัยที่รับรองว่าการขจัดของอาคารจะไม่เกินค่าความล้าที่กำหนดไว้จึงเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง ซึ่งต้องใช้แม้ว่าเอาต์พุตแรงที่เกิดขึ้นไม่มากพอที่จะทำให้ส่วนบนสุดของอาคารเกิดการเบี่ยงจากตำแหน่งเดิมมากกว่าค่าที่กำหนดไว้ คือ +/-200 มม. แนวทางหนึ่งที่จะช่วยเสริมความปลอดภัยให้กับระบบ คือ การเพิ่มจำนวนเซ็นเซอร์ตรวจวัดการเบี่ยงจากตำแหน่งเดิมของส่วนบนสุดของอาคาร ซึ่งทำได้โดยการใช้ระบบควบคุมแยกต่างหากอีกระบบหนึ่งที่ควรใช้หลักการวัดอีกแบบหนึ่งซึ่งแตกต่างไปจากอุปกรณ์ควบคุมที่มีอยู่ สำหรับโครงการที่นำเสนอนี้ อุปกรณ์ควบคุมที่ใช้ดังกล่าว ได้แก่ มาตรวัดความเร่ง และเกณฑ์ขั้นต่ำของความเร่งที่กำหนดสำหรับการกรองความถี่ของสัญญาณภายในช่วงความถี่ธรรมชาติที่เกี่ยวข้องของโครงสร้าง ระบบควบคุมที่เหนือกว่าที่ใช้แทนก็คือระบบนำทางด้วยดาวเทียม (Global Navigation Satellite System, GNSS) ที่มีความแม่นยำ +/- 10 มม. 

ระบบนำทางด้วยดาวเทียมต้องมีสถานีฐานอ้างอิงสำหรับการประมวลผลข้อมูลพิกัดให้กลายเป็นค่าตอบกลับของการขจัดที่เกิดขึ้นจริง หากการขจัดของส่วนบนสุดของอาคารเกินกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในระหว่างการสั่นกระตุ้นเทียม ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากแรงลมหรือการกระตุ้นอื่นๆ รีเลย์จะสลับสัญญาณไปเป็น 0 โวลต์ ซึ่งจะยกเลิกการสั่นกระตุ้น นอกจากนี้ ระบบควบคุมทั้งสองระบบยังตรวจสอบข้อมูลที่ได้มาอย่างต่อเนื่องเพื่อหาสัญญาณเซ็นเซอร์ที่ผิดพลาด ซึ่งจะทำให้เกิดการยกเลิกการสั่นกระตุ้นแบบแอคทีฟด้วยเช่นกัน สัญญาณความเร่ง/ขดลวดที่ผิดพลาดจะถูกตรวจจับโดยเกณฑ์ที่ดึงเฉพาะค่าที่จุดสูงสุดของคลื่นสัญญาณในช่วงสเปกตรัม หากการดึงเฉพาะค่าที่จุดสูงสุดของคลื่นสัญญาณในช่วงที่เกี่ยวข้องสามารถทำได้เท่านั้น จึงจะสามารถสรุปได้ว่าเซ็นเซอร์ส่งสัญญาณที่ถูกต้อง ในขณะที่ระบบนำทางด้วยดาวเทียมวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของข้อมูลพิกัด แต่หากข้อมูลที่เก็บตัวอย่างไม่เปลี่ยนแปลงอย่างทันท่วงที ให้ถือว่าสัญญาณผิดพลาดได้เลย

9.0 การทดสอบแรงสั่นสะเทือน

การทดสอบแรงสั่นสะเทือนของอาคารครั้งแรกทำเมื่อตอนที่อาคารยังสร้างไม่เสร็จ ดังนั้นความถี่พื้นฐานของอาคารในสภาพนี้จึงสูงกว่าช่วงการปรับค่าของระบบมวลหน่วงปรับค่าแบบแพสซีฟที่กำหนด มวลหน่วงปรับค่าถูกปรับความถี่ในการปรับค่าให้สูงสุดเท่าที่จะเป็นไปได้ วัตถุประสงค์ของการทดสอบแรงสั่นสะเทือน คือ เพื่อระบุความถี่พื้นฐานของอาคารที่ปิดใช้งานระบบมวลหน่วงปรับค่า และการหน่วงแรงสั่นสะเทือนโดยธรรมชาติของโครงสร้าง นอกจากนี้ ควรระบุพฤติกรรมเชิงพลศาสตร์ที่ใช้ระบบมวลหน่วงปรับค่าแบบแพสซีฟ รวมถึงการหน่วงแรงสั่นสะเทือนของโครงสร้างที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากระบบมวลหน่วงปรับค่าแบบแพสซีฟด้วย การระบุความถี่ธรรมชาติพื้นฐานของอาคาร วิธีหาความหนาแน่นของสเปกตรัมพลังงานโดยใช้ค่าเฉลี่ยที่เป็นตัวเลขสัญกรณ์วิทยาศาสตร์ (Averaged Normalized Power Spectral Density, ANPSD) [1] สามารถใช้ได้ เพื่อการนี้ ต้องแบ่งบันทึกเวลาออกเป็นส่วนๆ ซึ่งต้องเปลี่ยนส่วนเหล่านี้ให้เป็นโดเมนความถี่ ต้องเปลี่ยนค่าสเปกตรัมที่ได้ให้เป็นตัวเลขสัญกรณ์วิทยาศาสตร์ จากนั้นนำไปหาค่าเฉลี่ยและคูณด้วยค่าสเปกตรัมเชิงซ้อนสังยุค 

เมื่อทำเช่นนั้น แรงสั่นสะเทือนแบบสุ่มทั้งหมดจะถูกกำจัด และแรงสั่นสะเทือนอิสระของโครงสร้างที่เกิดซ้ำจะแสดงเป็นค่าสเปกตรัมเฉลี่ย ซึ่งจะเป็นความถี่ธรรมชาติของอาคารที่ถูกกระตุ้นเป็นหลัก รูปที่ 14 ซ้าย แสดงบันทึกเวลาของแรงสั่นสะเทือนแวดล้อมในแนวนอน ในทิศทาง x และ y โดยปิดใช้งานมวลหน่วงปรับค่า รูปที่ 14 ขวา แสดงค่าเฉลี่ยของสเปกตรัมพลังงานอัตโนมัติ (Auto Power Spectra) ที่ได้จากการแบ่งส่วนเวลาที่ยาว 120 วินาที สเปกตรัมเผยให้เห็นว่าอาคารแสดงถึงการตอบสนองทางพลศาสตร์ที่ความถี่หลักสองความถี่ (0.225 Hz ในทิศทาง x และ 0.245 Hz ในทิศทาง y)

นอกเหนือจากวิธีหาค่าสเปกตรัมพลังงานเฉลี่ย (Averaged Power Spectrum) ที่อธิบายไว้ข้างต้น ซึ่งถือว่าการกระตุ้นแวดล้อมก่อให้เกิดการตอบสนองทางพลศาสตร์ที่เพียงพอในโหมดแรงสั่นสะเทือนที่ศึกษา เพื่อเพิ่มความปลอดภัยแบบสุ่ม มีการระบุความถี่ธรรมชาติโดยใช้ซอฟต์แวร์ ARTEMIS ที่มีจำหน่ายทั่วไปเพื่อประมวลผลข้อมูลสัญญาณ [1] ซึ่งมีทั้งวิธีการแตกกระจายโดเมนความถี่แบบเสริมเพิ่ม (Enhanced Frequency Domain Decomposition) และวิธีการระบุพื้นที่ย่อยแบบสุ่ม (Stochastic Subspace Identification)

รูปที่ 14 - ซ้าย: บันทึกเวลาของความเร่งที่วัดได้ที่ส่วนบนสุดของอาคารในทิศทางหลักทั้งสอง – ขวา: สเปกตรัม APS ที่เกี่ยวข้อง

การแตกกระจายโดเมนความถี่แบบเสริมเพิ่ม (Enhanced Frequency Domain Decomposition, EFDD) และการระบุพื้นที่ย่อยแบบสุ่ม (Stochastic Subspace Identification) เป็นเทคนิคที่ใช้กันอย่างแพร่หลายสำหรับการระบุตัวแปรในการสั่นที่ได้จากแรงเอาต์พุตที่ออกมาเท่านั้น

รูปที่ 15 – บัตรความมั่นคงของบันทึกแรงสั่นสะเทือนแวดล้อมที่ปิดใช้งานมวลหน่วงปรับค่า (ซ้าย) และที่เปิดใช้งานมวลหน่วงปรับค่า  (ขวา)

วิธีการแตกกระจายโดเมนความถี่แบบพิเศษ (EFDD) ใช้การคำนวณสเปกตรัมการตอบสนอง ดังนั้น บันทึกที่ยาวต้องรักษาระดับข้อผิดพลาดของค่าสเปกตรัมโดยประมาณให้อยู่ในระดับต่ำและสกัดตัวแปรในการสั่นด้วยวิธีที่เชื่อถือได้ ขั้นตอนวิธีการระบุพื้นที่ย่อยแบบสุ่ม (Stochastic Subspace Identification) ใช้ในการระบุความเชื่อมโยงโดยใช้แบบจำลองของแรงเอาต์พุตที่ออกมาเท่านั้น วิธีการระบุพื้นที่ย่อยแบบสุ่ม (Stochastic Subspace Identification) ทำงานโดยขึ้นอยู่กับเวลาและขึ้นอยู่กับคำอธิบายสถานะในขณะนั้น (state space) ของปัญหาทางพลศาสตร์ ผลการระบุระบบที่ลำดับแบบจำลองต่างๆ จะถูกนำมาเปรียบเทียบกันเพื่อแยกการสั่นของโครงสร้างที่แท้จริงออกจากการสั่นเทียมในสิ่งที่เรียกว่าแผนภาพความเสถียร แผนภาพเหล่านี้เป็นวิธีที่นิยมใช้ในการเลือกแบบจำลองระบบที่ระบุ เพราะการสั่นของโครงสร้างที่แท้จริงมักจะเสถียรในลำดับแบบจำลองที่ต่อเนื่อง โดยจะมีขั้นตอนอัตโนมัติเพื่อประเมินความสอดคล้องกับเกณฑ์ความเสถียรที่กำหนดไว้ รูปที่ 15 แสดงบัตรความเสถียรของข้อมูลแวดล้อมที่บันทึกไว้ ซึ่งจะสามารถระบุการสั่นที่เกี่ยวข้องได้จากข้อมูลนี้ การสั่นที่ระบุและอัตราการหน่วงแรงสั่นสะเทือนที่ระบุสำหรับการสั่นแต่ละแบบในสถานะที่ปิดใช้งานมวลหน่วงปรับค่า (ซ้าย) และเปิดใช้งานมวลหน่วงปรับค่า (ขวา) แสดงในรูปที่ 14 เช่นกัน ซึ่งจะเห็นการหน่วงแรงสั่นสะเทือนของโครงสร้างที่เพิ่มขึ้นด้วย การหน่วงแรงสั่นสะเทือนเพิ่มเติมของโครงสร้างอยู่ในช่วงค่าทางทฤษฎีที่สามารถระบุได้จากแบบจำลองทางทฤษฎีที่ใช้ในการปรับค่าของมวลหน่วงปรับค่าอีกครั้ง

นอกจากการทดสอบแรงสั่นสะเทือนแวดล้อมด้วยระบบมวลหน่วงปรับค่าแบบแพสซีฟแล้ว ยังมีการทดสอบเบื้องต้นด้วยการสั่นกระตุ้นแบบแอคทีฟด้วย โดยไม่คำนึงถึงสถานะที่ปรับใหม่ของระบบมวลหน่วงปรับค่า รูปที่ 12 ซ้าย แสดงบันทึกเวลาของความเร่งที่บันทึกไว้ที่ส่วนบนสุดของอาคาร หลังจากการกระตุ้นแบบสมการไซน์ครั้งแรก มีการใช้ขั้นตอนวิธีสำหรับระดับความเร่งคงที่เพื่อทดลองระบุค่าสหสัมพันธ์ระหว่างการเบี่ยงจากตำแหน่งเดิมของอาคารและการขจัดของมวลหน่วงปรับค่าที่เกิดจากแรง บันทึกเวลาที่แสดงในรูปที่ 12 แสดงเหตุการณ์ทดสอบของการสั่นกระตุ้น 2 เหตุการณ์ และสเปกตรัม FFT ที่เกี่ยวข้องแสดงการตอบสนองที่ชัดเจนของอาคารในความถี่พื้นฐานทั้งสองของอาคาร (ทิศทาง x และ y)  ส่วนของเวลาที่เป็นสีเขียวคือการกระตุ้นแบบสมการไซน์ของมวลโดยปิดใช้งานการควบคุมแบบแอคทีฟ ซึ่งทำให้เกิดการตอบสนองเชิงพลศาสตร์ในทิศทางหลักทั้งสอง สเปกตรัม FFT ที่เกิดขึ้นแสดงจุดสูงสุดสองจุดเพื่อระบุความถี่พื้นฐานในทั้งสองทิศทาง ส่วนของเวลาที่เป็นสีน้ำเงินคือการกระตุ้นที่เปิดใช้งานการควบคุมแบบแอคทีฟ ซึ่งทำให้การขจัดของอาคารเคลื่อนที่ไปในทิศทางหลักทิศทางเดียวได้คงที่ยิ่งขึ้น การลดลงของแรงสั่นสะเทือนที่เกิดขึ้นหลังจากปิดการสั่นกระตุ้นถูกนำไปใช้เพื่อระบุการหน่วงแรงสั่นสะเทือนของโครงสร้างโดยได้ค่า D=2.4% ผลลัพธ์นี้สัมพันธ์กับอัตราการหน่วงแรงสั่นสะเทือนที่ระบุโดยใช้ขั้นตอนวิธี SSI

รูปที่ 16 - ซ้าย: บันทึกเวลาของความเร่งที่เกิดขึ้นที่ส่วนบนสุดของอาคารในระหว่างการกระตุ้นเทียม (เป็นสีเขียว: การกระตุ้นแบบสมการไซน์ / เป็นสีน้ำเงิน: การสั่นกระตุ้นที่มีการควบคุมด้วยการยับยั้งแรงในแกนหลักหนึ่งแกน – ขวา: สเปกตรัม FFT ที่เกี่ยวข้อง

10.0 สรุปและการดำเนินงานในอนาคต

มีการติดตั้งมวลหน่วงปรับค่าที่ใช้งานได้สองแบบ (Dual Use TMD) ไว้ในหอทดสอบ Thyssen Krupp สูง 246 ม. โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเจตนากระตุ้นให้อาคารหอทดสอบนี้สั่นจนเกิดการตอบสนองทางพลศาสตร์แบบมีการควบคุมถึงความถี่พื้นฐานของตัวอาคาร วัตถุประสงค์ของการกระตุ้นนี้คือเพื่อหาค่าการแกว่งของอาคารในสองทิศทางหลัก จากการคำนวณทางคณิตศาสตร์พบว่าต้องใช้มวลหน่วงปรับค่าขนาด 240 ตันเพื่อให้ได้การหน่วงแรงสั่นสะเทือนเพิ่มเติมที่เพียงพอสำหรับการสั่นแบบแพสซีฟ และเพื่อสร้างแรงควบคุมที่เพียงพอที่จะทำให้การขจัดที่ส่วนบนสุดของอาคารอยู่ในช่วง +/- 200 มม. มีการพัฒนาและทดสอบขั้นตอนวิธีการควบคุมด้วยการจําลองระเบียบวิธีเชิงตัวเลขเพื่อสร้างระดับการขจัดที่คงที่สำหรับการสั่นกระตุ้นและเพื่อยับยั้งการขจัดที่เกิดจากแรงลมและส่วนประกอบของแรงสั่นสะเทือนที่ถูกทำให้สั่นในทิศทางตั้งฉาก หลังจากการติดตั้งระบบมวลหน่วงปรับค่าแบบลูกตุ้มแพสซีฟที่ใช้แผ่นคอนกรีตสำเร็จรูปเป็นมวลต้าน (reaction mass) มีการเปิดใช้งานหัวขับและทำการทดสอบเป็นครั้งแรก การทดสอบแสดงให้เห็นว่าการหน่วงแรงสั่นสะเทือนตามธรรมชาติของอาคารสูงกว่าที่คาดไว้ แต่สามารถระบุการสั่นที่เกี่ยวข้องทั้งหมดได้อย่างชัดเจน การสั่นกระตุ้นแบบแอคทีฟของอาคารทำงานได้ผลและสามารถทำการทดสอบได้ แม้ว่าจะไม่ถึงขั้นที่จะค้นพบตัวแปรในการทำงานจริงทั้งหมดก็ตาม ทั้งนี้เป็นเพราะอาคารยังสร้างไม่เสร็จสมบูรณ์ และด้วยเหตุนี้ จึงยังไม่สามารถปรับแต่งมวลหน่วงปรับค่าแบบแพสซีฟให้เข้ากับความถี่พื้นฐานที่กำหนดได้

ทันทีที่ปรับแต่งระบบมวลหน่วงปรับค่าได้แล้ว จะมีการทดสอบอาคารเพิ่มเติม ซึ่งจะรวมถึงการทดสอบเกี่ยวกับการหน่วงแรงสั่นสะเทือนที่ขึ้นอยู่กับแอมพลิจูดและการบูรณาการแนวคิดด้านความปลอดภัยด้วย

 

 

เอกสารอ้างอิง

[1] Wenzel, H.; Pichler, D.; Schedler, R. (1991). “Ambiente Schwingungsmessungen zur System und Schadenserkennung an Tragwerken”, Bauingenieur 74

 

[2] Döhler, M.; Andersen, P.; Mevel, L. (2012). “การวิเคราะห์ปฏิบัติการโมดอลโดยใช้วิธีการระบุสโตแคสติกแบบเร็ว”, การดำเนินการประชุมของสมาคมเพื่อการทดลองกลศาสตร์

 

[3] Soong, T.T.; Spencer, J.R. (2000). “การควบคุมโครงสร้างแบบ Active, Semi-Active และ Hybrid” ในการประชุมระดับโลกครั้งที่ 12 สำหรับวิศวกรรมแผ่นดินไหว

 

[4] Ricciardelli, F.; Pizzimenti, A.D.; Mattei, M. (2003). การควบคุมมวลหน่วงปรับค่าแบบพาสซีฟและแอคทีฟของการตอบสนองของอาคารสูงต่อลมกระโชกแรง. Eng. Struct., 25, 1199–1209

 

[5] Yang, N.Y.; Agrawal, A.K.; Samali, B.; Wu, J.C. Benchmark Problem for Response Control of Wind-Excited Tall Buildings. J. Eng. Mech. 2004, 130, 437–446. 

 

[6] Watakabe, M.; Tohdp, M.; Chiba, O.; Izumi, N.; Ebisawa, H.; Fujita, T. Response control performance of a hybrid mass damper applied to a tall building. Earthq. Eng. Struct. Dyn. 2001, 30, 1655–1676.

 

[7] Tan, P.; Liu, Y.; Zhou, F.; Teng, J. Hybrid Mass Dampers for Canton Tower. CTBUH J. 2012, 24–29.

 

[8] Soong, T.T. “Active Structural Control: Theory and Practice”; John Wiley & Sons, Inc.: New York, NY, USA, 1990

 

[9] Preumont, A.; Kazuto, S. (2008). “Active Control of Structures”, Wiley, Padstow

แชร์โพสต์นี้

แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม

หากคุณต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับหัวข้อนี้
กรุณาติดต่อสอบถามเราได้เสมอ
วิศวกรโครงการของเราจะตอบกลับคุณโดยเร็วที่สุด


    เว็บไซต์นี้ได้รับการปกป้องโดย reCAPTCHA และ Google และมีการใช้ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ เงื่อนไขการให้บริการ

    กรณีศึกษาเกี่ยวกับเทคโนโลยีการหน่วงแรงสั่นสะเทือนสำหรับอาคารสูง: ความสบายและความปลอดภัย

    แนวทางสำหรับระบบหน่วงการสั่นสะเทือนของสมาคมอาคารสูงและการอยู่อาศัยในเขตเมือง (Council on Tall Buildings and Urban Habitat, CTBUH)

    หอทดสอบ Thyssen Krupp เมือง Rottweil ประเทศเยอรมนี

    รายละเอียดโครงการ

    • ปีที่สร้างเสร็จ:
      2016 (โครงสร้างชั้นสูงสุด)
    • ผู้พัฒนา/ผู้รับเหมา/เจ้าของ:
      Krupp Hoesch Stahl GmbH / Thyssen Krupp Elevators
    • สถาปนิก:
      Werner Sobek ร่วมกับ JAHN Architects สาขาสตุทการ์ทและชิคาโก
    • วิศวกรโยธา:
      Werner Sobek จากสตุทการ์ท
    • ผู้จัดจำหน่ายอุปกรณ์หน่วงการสั่นสะเทือน:
      GERB Vibration Control Systems
    • ห้องปฏิบัติการที่ทำการทดสอบ:
      Wacker Ingenieure (วิศวกรรมลม / การทดสอบในอุโมงค์ลม)
    • ความสูง / ความสูงระหว่างชั้น:
      246 ม. / 3.3 ม. (พื้นที่สำนักงาน)
    • จำนวนชั้น:
      27 ชั้น / พื้นที่สำนักงาน 8 ชั้น
    • พื้นที่ทั้งหมดของอาคาร:
      340 ตารางเมตร
    • หน้าที่ใช้สอยของอาคาร:
      หอทดสอบลิฟต์ / สำนักงาน / ดาดฟ้าสำหรับสังเกตการณ์ (232 ม.)
    • กลยุทธ์การหน่วงแรงสั่นสะเทือนที่ใช้:
      ระบบตัวหน่วงการสั่นสะเทือนด้วยมวลแบบไฮบริด (240 ตัน)
    • วัสดุโครงสร้าง:
      คอนกรีดเสริมเหล็ก (C50/60) / เปลือกอาคารด้วยแผ่นผนังพอลิเตตระฟลูออโรเอทิลีน (PTFE) บนโครงสร้างเหล็ก
    •  ระบบโครงสร้าง:
      แกนรับน้ำหนักคอนกรีตเสริมเหล็กที่ยื่นออกมาจากฐานรากแพ
      (- 32 ม.)

    กรณีศึกษาเกี่ยวกับเทคโนโลยีการหน่วงแรงสั่นสะเทือนสำหรับอาคารสูง: ความสบายและความปลอดภัย

    แนวทางสำหรับระบบหน่วงการสั่นสะเทือนของสมาคมอาคารสูงและการอยู่อาศัยในเขตเมือง (Council on Tall Buildings and Urban Habitat, CTBUH)

    หอทดสอบ Thyssen Krupp เมือง Rottweil ประเทศเยอรมนี

    รายละเอียดโครงการ

    1.0 บทนำ/ประวัติความเป็นมา

    หอสูง 246 ม. นี้ตั้งอยู่ในภาคตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศเยอรมนี โดยสร้างขึ้นเพื่อเป็นอาคารสำหรับทดสอบนวัตกรรมของลิฟต์ หอนี้มีผังอาคารเป็นรูปวงกลมที่มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 20 ม. และมีพื้นที่ปล่องลิฟต์สำหรับทดสอบลิฟต์ได้ 9 ตัว ลิฟต์สำหรับใช้ในกรณีเพลิงไหม้หนึ่งตัว และลิฟต์แก้วที่เห็นทิวทัศน์ได้ในมุมกว้างอีกหนึ่งตัว นอกจากนี้ยังมีปล่องสูง 220 ม. อีกหนึ่งปล่องที่สามารถใช้เป็นปล่องลิฟต์เชิงกลเพื่อรับรองโปรแกรมทดสอบด้วย

    ฐานอาคารเป็นรูปวงกลมที่มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 40 ม. ซึ่งเป็นพื้นที่เพิ่มเติมสำหรับงานระบบอาคาร โถงต้อนรับ และศูนย์ศึกษา ที่ความสูง 232 ม. มีดาดฟ้าสำหรับสังเกตการณ์ที่สูงที่สุดในประเทศเยอรมนี สามารถมองเห็นทิวทัศน์ที่งดงามของป่าดำและเห็นไปถึงเทือกเขาแอลป์ในวันที่อากาศแจ่มใส

    รูปที่ 1 - หอทดสอบในเมือง Rottweil ประเทศเยอรมนี

    2.0 ระบบโครงสร้าง

    ระบบโครงสร้างของหอทดสอบเป็นท่อคอนกรีตอัดแรงที่มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 20.8 ม. ปักยึดแน่นเข้าไปในดินลึก 30 ม. (ดูรูปที่ 2) ผนังท่อนี้มีความหนา 40 ซม. จากฐานถึงความสูงที่ระดับ 110 ม. และจากระดับความสูงดังกล่าวเป็นต้นไปผนังท่อจะหนา 25 ซม. ดินในบริเวณนั้นเป็นชั้นหินแข็งที่เรียกว่า Keuper และมีชั้นหินปูนที่เกิดจากการทับถมของเปลือกหอยในยุคดึกดำบรรพ์อยู่ด้านใต้ ทำให้สามารถรับน้ำหนักได้สูง จึงไม่จำเป็นต้องมีการตอกเสาเข็มก่อนวางฐานราก นอกจากดินในบริเวณโดยรอบจะยึดให้หอตั้งอยู่อย่างมั่นคงแล้ว โครงสร้างฐานที่กว้างของหอก็ช่วยเสริมความแข็งแกร่งด้านข้างให้กับหอด้วย

    การเสริมความแข็งแกร่งภายในของท่อคอนกรีตส่วนใหญ่เกิดจากผนังด้านในของปล่องลิฟต์ มีการติดตั้งแผ่นฝ้าเพดานสำเร็จรูปไว้ที่บางระดับความสูงเพื่อให้สามารถเข้าถึงปล่องลิฟต์ได้ ปล่องลิฟต์บางปล่องสิ้นสุดที่ระดับความสูง 115 ม. และปิดด้วยแผ่นพื้นช่วงพาดยาวหนา 40 ซม. ซึ่งเป็นพื้นแบบหล่อในที่ ชั้นอาคารเหล่านี้ใช้เป็นพื้นที่สำนักงาน ถัดขึ้นไปด้านบนเป็นพื้นที่ว่างเปล่าจนถึงที่ระดับความสูง 197 ม. ซึ่งใช้เป็นพื้นที่กักเก็บความร้อนและพื้นที่สำหรับระบบมวลหน่วงปรับค่า (TMD) ส่วนบนสุดของหอใช้เป็นพื้นที่สำนักงานและพื้นที่สำหรับปล่องลิฟต์ที่เหลือ

    รูปที่ 2 - การปักยึดลงไปในดิน (ที่มา: Werner Sobek จากสตุทการ์ท)

    องค์ประกอบที่โดดเด่นของหอทดสอบนี้คือผนังด้านนอกของอาคารที่ทำจากแผ่นตาข่ายใยแก้วเคลือบด้วยพอลิเตตระฟลูออโรเอทิลีน (PTFE) ช่องตาข่ายกว้างขึ้นตามความสูงที่เพิ่มขึ้นของอาคาร โดยยิ่งสูงก็จะยิ่งโปร่งมากขึ้น ซึ่งช่วยลดความหนาแน่นและน้ำหนักของวัสดุและลดแรงต้านอากาศ

    รูปทรงที่เป็นเกลียวของผนังด้านนอกของอาคารทำหน้าที่เป็นเกลียวลดการสั่นสะเทือนหรือเกลียว Scruton และตัวแผ่นผนังเองช่วยให้ร่มเงาแก่โครงสร้างคอนกรีตเพื่อหลีกเลี่ยงความเค้นที่เกิดจากความร้อนของแสงอาทิตย์ การออกแบบและการเลือกใช้วัสดุของผนังด้านนอกของอาคารคำนึงถึงการติดตั้ง การบำรุงรักษา ความคงทน และการรับแรงลม

    3.0 ขั้นตอนการก่อสร้าง

    รูปที่ 3 - การปักยึดลงไปในดิน (ที่มา: Züblin AG)

    การก่อสร้างหอทดสอบมีขั้นตอนดังต่อไปนี้:

    • การขุดหลุมกลมลึก 30 ม. เพื่อวางฐานรากของอาคาร การขุดหลุมกลมนี้ทำได้โดยการวางระเบิด หลังจากขุดหลุมแล้ว มีการยึดไม่ให้ดินถล่มลงมาด้วยการฝังสมอยึดดินและการพ่นคอนกรีต
    • การเทฐานรากแพ
    • การก่อสร้างโครงสร้างคอนกรีตในแนวตั้งใช้การหล่อคอนกรีตแบบเลื่อน โดยมีการสร้างผนังทั้งหมดอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 4 เดือน
    • การก่อสร้างแผ่นพื้น
    • การก่อสร้างบริเวณทางเข้า

    4.0 การตอบสนองทางพลศาสตร์ต่อแรงลมที่คาดไว้

    ความถี่พื้นฐานของหอทดสอบคาดว่าจะอยู่ในช่วง 0.17 Hz – 0.20 Hz ต่อวินาที โดยขึ้นอยู่กับขั้นตอนการก่อสร้างและสถานะของคอนกรีต (แตกร้าว/ไม่แตกร้าว) – ดูรูปที่ 4

    รูปที่ 4 - รูปแบบการสั่นสำหรับการสั่น 1-3 / ความถี่พื้นฐาน 0.18 Hz และ 0.19 Hz (ที่มา: Werner Sobek จากสตุทการ์ท)

    การวิเคราะห์ลมพบว่าจะเกิดการสั่นของโครงสร้างที่ความเร็วลมที่ตรงกับค่าความเร็วลมที่ระดับพื้นดิน (ความสูง 10 ม.) ซึ่งก็คือในช่วง 55 – 60 กม./ชม. หากไม่มีการหน่วงแรงสั่นสะเทือนเพิ่มเติม คาดว่าการสั่นของโครงสร้างนี้จะทำให้ส่วนบนของอาคารเบี่ยงจากตำแหน่งเดิมไปประมาณ +/- 750 มม. ซึ่งนอกจากจะทำให้ผู้คนในอาคารรู้สึกไม่สบายแล้ว ยังทำให้โครงสร้างคอนกรีตของอาคารเกิดความล้าเป็นอย่างมากด้วย ซึ่งจะลดอายุการใช้งานของโครงสร้าง (ดูรูปที่ 5) เพื่อลดการตอบสนองทางพลศาสตร์ที่มีต่อการสั่นที่เกิดจากแรงลมที่มาปะทะด้านข้าง จึงมีการใช้ระบบมวลหน่วงปรับค่าแบบแพสซีฟ เนื่องจากอาคารนี้จะใช้เป็นหอทดสอบความไวของอุปกรณ์ลิฟต์ที่มีต่อการแกว่งของอาคาร เจ้าของโครงการจึงมองหาความเป็นไปได้ที่จะกระตุ้นอาคารให้แกว่งเทียมในวันที่ลมสงบ ซึ่งทำให้เกิดการขจัดที่ไม่ก่อให้เกิดปัญหาเรื่องความล้า ระดับการแกว่งเทียมตามคำขอของเจ้าของโครงการและถือว่าปลอดภัยคือประมาณ +/- 200 มม. คำขอของเจ้าของโครงการนี้เป็นโอกาสที่หาได้ยากในการใช้ตัวหน่วงการสั่นสะเทือนด้วยมวลแบบไฮบริด (Hybrid Mass Damper, HMD) หรือที่เรียกว่า มวลหน่วงปรับค่าที่ใช้งานได้สองแบบ (Dual Use TMD) เนื่องจากระบบการออกแบบแตกต่างไปจากระบบตัวหน่วงการสั่นสะเทือนด้วยมวลแบบไฮบริดอื่นๆ ที่เคยใช้ในอดีต ในบทถัดไปจะมีการนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับระบบนี้ รวมถึงการปรับแต่งระบบแพสซีฟ การออกแบบกลไกหัวขับ ขั้นตอนวิธีการควบคุม และแนวคิดด้านความปลอดภัย

    รูปที่ 5 - การทดสอบโดยใช้อุโมงค์ลมของหอทดสอบ (ที่มา: Wacker Ingenieure)

    5.0 การปรับแต่งระบบมวลหน่วงปรับค่าแบบแพสซีฟ

    ต้องระบุตัวแปรของระบบมวลหน่วงปรับค่าแบบแพสซีฟโดยคำนึงถึงสามประเด็น ได้แก่ ก) เพื่อให้การหน่วงแรงสั่นสะเทือนเพิ่มเติมแก่โครงสร้างอย่างเพียงพอ เพื่อลดการตอบสนองทางพลศาสตร์ที่เกิดจากการสั่นเมื่อมีกระแสลมไหลวน ข) เพื่อจำกัดการเคลื่อนที่ของมวลหลักของมวลหน่วงปรับค่าในการสั่นแพสซีฟที่เกิดขึ้นให้อยู่ในค่าที่เป็นไปได้และสมเหตุสมผล สำหรับเวลาที่เกิดการสั่นเนื่องจากแรงลมกรรโชกที่มาปะทะด้านข้าง และ ค) เพื่อเลือกมวลหน่วงปรับค่าให้สอดคล้องอินพุตของพลังงานที่จะทำให้เกิดการเบี่ยงสูงสุดจากตำแหน่งเดิมของอาคารในการสั่นกระตุ้น โดยพิจารณาประสิทธิภาพในการต้านแรงลมที่เกิดขึ้นจากหัวขับที่มี (หรือ แรงสูงสุดที่เกิดขึ้นและช่วงแรงชักสูงสุดในระหว่างการปฏิบัติงาน) มีการใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์เพื่อปรับแต่งระบบมวลหน่วงปรับค่า ซึ่งแสดงถึงการกระจายมวลน้ำหนักของอาคารและโมเมนต์ความเฉื่อยของมวลตามที่รายงานไว้ในคุณสมบัติทางโครงสร้างที่กำหนด องค์ประกอบเพื่อความแข็งแกร่งระหว่างพื้นอาคารได้รับการออกแบบมาให้สอดคล้องกับรูปแบบการสั่นและความถี่ธรรมชาติที่ได้จากการสังเกตการณ์อย่างเต็มรูปแบบ รูปที่ 6 ซ้าย แสดงรูปแบบการสั่นและความถี่ธรรมชาติของแบบจำลองเปรียบเทียบที่ใช้ นอกจากนี้ รูปที่ 6 ซ้าย ยังแสดงรูปแบบการสั่นของแบบจำลองเปรียบเทียบโดยเทียบกับต้นแบบอย่างละเอียดของที่จัดทำโดยปรึกษาด้านโครงสร้างด้วย

    รูปที่ 6 - การสั่นที่เกี่ยวข้องและความถี่ธรรมชาติที่คำนวณได้สำหรับการปรับเทียบแบบจำลอง – การเปรียบเทียบรูปแบบการสั่น
    รูปที่ 7 - บน: บันทึกเวลาที่สร้างสำหรับแรงลมที่ปะทะด้านข้างและสเปกตรัม FFT ที่เกิดขึ้น – ล่าง: การขจัดของอาคารที่มีและไม่มีการปรับแต่งมวลหน่วงปรับค่าและการขจัดของมวลหน่วงปรับค่าที่เกิดขึ้น

    นอกจากนี้ ยังมีการสร้างแบบจำลองมวลหน่วงปรับค่าแยกต่างหากให้เป็นระบบลูกตุ้มที่สามารถจับตำแหน่งเยื้องศูนย์กลางของตัวมวลเองในหออาคารได้ด้วย คุณลักษณะของน้ำหนักกระทำสำหรับควบคุมแรงป้อนที่มากระทำหรือการสั่นของโครงสร้างเนื่องจากกระแสลมไหลวนก็เหมือนกับการกระตุ้นให้เกิดการสั่นด้วยการเคลื่อนที่แบบฮาร์มอนิกอย่างง่าย อย่างไรก็ตาม แรงลมกรรโชกที่มีอยู่เป็นลักษณะตามธรรมชาติที่เกิดขึ้นแบบสุ่ม ดังนั้นจึงต้องใช้เกณฑ์ในการปรับแต่งอื่นที่นอกเหนือจากเกณฑ์ Den Hartog อันเป็นที่รู้จักกันดี นอกจากนี้ การเคลื่อนที่สัมพัทธ์ของมวลหน่วงปรับค่าของแรงลมแบบสุ่มยังมากกว่าแบบฮาร์มอนิกด้วย การกำหนดค่าตัวเลขของตัวแปรที่เหมาะสมของมวลหน่วงปรับค่าควรพิจารณาแรงลมที่ใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุด บันทึกเวลาที่สร้างขึ้นมีทั้งแรงลมกรรโชกแบบสุ่ม (ตามสเปกตรัม Davenport) และการสั่นที่มีความถี่ตรงกัน กระแสลมไหลวน ส่วนประกอบที่แสดงถึงการสั่นที่เกิดจากแรงลมที่มาปะทะด้านข้างโดยรวม (ดูรูปที่ 3 ขวา) การลดการเบี่ยงจากตำแหน่งเดิมของอาคารเกิดจากระบบมวลหน่วงปรับค่าแบบแพสซีฟที่ปรับแต่งแล้ว และการขจัดของมวลหน่วงปรับค่าที่เกิดขึ้นแสดงอยู่ในรูปที่ 3 ขวา

    จากผลการทดสอบเหล่านี้ที่มีค่าการหน่วงแรงสั่นสะเทือนโดยธรรมชาติของโครงสร้างโดยประมาณ ξ=0.8 % สามารถระบุได้ว่าต้องใช้มวลหน่วงปรับค่าหนัก 240 ตันเพื่อให้ได้การขจัดในขอบเขต +/- 650 มม. โดยที่ยังคงรักษาอัตราการหน่วงของมวลหน่วงปรับค่าไว้ได้ในระดับที่เหมาะสม  เพื่อให้มวลหน่วงปรับค่ามีประสิทธิภาพสูงสุด การหน่วงที่เพิ่มขึ้นของมวลหน่วงปรับค่าจะช่วยลดระยะการเคลื่อนที่พร้อมทั้งยังคงมีสมรรถนะที่เพียงพอ แต่อาจส่งผลเสียต่อแรงที่เกิดจากหัวขับ เพื่อระบุแรงที่ต้องใช้ให้การปรับตั้งมวลหน่วงปรับค่าขนาด 240 ตันให้เหมาะสม จึงมีการใช้แบบจำลองเปรียบเทียบเพื่อตรวจสอบว่า ด้วยแรงสูงสุด 40 กิโลนิวตันจากหัวขับ อาคารจะเบี่ยงจากตำแหน่งเดิมในช่วง +/- 200 มม. ได้หรือไม่ รูปที่ 4 แสดงผลของการจําลองระเบียบวิธีเชิงตัวเลขที่ขึ้นอยู่กับเวลาบนแบบจำลองเปรียบเทียบทางคณิตศาสตร์ ซึ่งในที่นี่แสดงการเบี่ยงจากตำแหน่งเดิมของส่วนบนสุดของอาคารที่เกิดขึ้น การเบี่ยงจากตำแหน่งเดิมของมวลหน่วงปรับค่า และแรงอินพุตกระทำอย่างต่อเนื่องที่เป็นสาเหตุของการเบี่ยงจากตำแหน่งเดิมดังกล่าว

    รูปที่ 8 - สายแขวนลูกตุ้มที่รองรับมวลหน่วงปรับค่า
    รูปที่ 9 - มอเตอร์เชิงเส้นทำหน้าที่เป็นหัวขับ

    6.0 คำอธิบายระบบควบคุม

    การทำงานเป็นคู่ของระบบควบคุมตอบโจทย์ ก) วัตถุประสงค์ในลดการใช้พลังงานในขณะทำงานแบบแพสซีฟตามปกติเพื่อลดแรงสั่นสะเทือนที่เกิดขึ้น ข) วัตถุประสงค์ในการลดแรงที่หัวขับต้องใช้ด้วยการใช้ปรากฏการณ์เรโซแนนซ์เพื่อกระตุ้นมวลหน่วงปรับค่าหลักให้ได้แรงจริงสูงสุดตามที่ต้องการ ดังนั้นเมื่อเทียบกับระบบควบคุมอื่นๆ (ดูรูปที่ 1) หัวขับจะเชื่อมต่อโครงสร้างหลักและมวลหน่วงปรับค่าเข้าด้วยกัน แต่ไม่ใช้เพื่อควบคุมมวลหน่วงปรับค่าโดยตรง มิฉะนั้นจะกลายเป็นระบบตัวขับมวลแบบแอคทีฟ (Active Mass Driver) หรือตัวหน่วงทั่วไป

    สำหรับมวลหน่วงปรับค่าที่ใช้งานได้สองแบบ (Dual Use TMD) ที่ใช้ อาคารนี้เลือกใช้มวลตอบสนองสำหรับการทำงานแบบแพสซีฟที่มีน้ำหนัก 240 ตัน สำหรับการสั่นกระตุ้นมีหัวขับเชิงเส้นสองหัว หนึ่งหัวต่อหนึ่งทิศทางหลัก ซึ่งยึดติดอยู่กับมวลหน่วงปรับค่าด้วยข้อต่อหมุนใกล้กับจุดศูนย์ถ่วงของมวลเพื่อหลีกเลี่ยงแรงบิดที่ไม่พึงประสงค์  หัวขับเชิงเส้นแต่ละตัวสามารถสร้างแรงได้ถึง 40 กิโลนิวตันได้ภายในช่วงชักสูงสุด +/- 600 มม. เพียงช่วงเดียว (ดูรายละเอียดในรูปที่ 2) หัวขับเชิงเส้นสามารถถอดออกได้ ดังนั้นการสั่นแบบแพสซีฟทั้งหมดจะไม่ได้รับผลกระทบจากตลับลูกปืนของหัวขับในกรณีที่ตลับลูกปืนเกิดความขัดข้อง ซึ่งเป็นกรณีที่เกิดขึ้นได้ยาก

    รูปที่ 10 – ประเภทของระบบควบคุม – มวลหน่วงปรับค่าที่ใช้งานได้สองแบบ (Dual Use TMD) เทียบกับระบบแพสซีฟ กึ่งแอคทีฟ แอคทีฟและไฮบริด

    ระบบประกอบด้วยมาตรวัดความเร่งแกนเดียวสี่ตัว (คานรูปตัว K สำหรับรับแรงแผ่นดินไหว/MEMS หนึ่งคานต่อหนึ่งทิศทาง) เพื่อระบุระดับสูงสุดของอาคารและความเร่งของมวลหน่วงปรับค่า สัญญาณความเร่งจะถูกกรองความถี่ภายในช่วงความถี่ธรรมชาติพื้นฐานของอาคาร (0.1 – 0.3 Hz) และหาค่าปริพันธ์เพื่อให้ความเร็วและการเบี่ยงจากตำแหน่งเดิมแก่อาคาร

    นอกจากนี้ ค่าการขจัดที่หาค่าปริพันธ์แล้วสามารถนำไปเปรียบเทียบกับค่าที่วัดได้จากระบบนำทางด้วยดาวเทียมที่ติดตั้งเสริมไว้ที่ด้านบนสุดได้ด้วย เพื่อเปรียบเทียบค่าคลาดเคลื่อนของสัญญาณ จากนั้นจะทำการทดสอบสหสัมพันธ์ตามข้อมูลที่ได้ นอกจากนี้ มีการควบคุมการขจัดของมวลหน่วงปรับค่าโดยตรงด้วยอุปกรณ์แปลงพลังงานหรือทรานสดิวเซอร์แบบขดลวดและระบบวัดความยาวแบบเหนี่ยวนำที่อยู่ในมอเตอร์เชิงเส้น

    7.0 ขั้นตอนวิธีการควบคุม

    วงจรการควบคุมทั่วไปของอาคารแสดงไว้ในรูปที่ 5 ซึ่งแสดงลำดับการควบคุมแบบวงจรปิด การออกแบบอย่างละเอียดของขั้นตอนวิธีการควบคุมจะต้องมีแบบจำลองเชิงวิเคราะห์ของปฏิสัมพันธ์ระหว่างหัวขับกับมวลหน่วงปรับค่า เพื่อระบุความสัมพันธ์ระหว่างอินพุตแรงจากหัวขับและแรงกระทำที่ใช้ ซึ่งต้องใช้ร่วมกับแบบจำลองเชิงวิเคราะห์ของโครงสร้างหลักที่อธิบายพฤติกรรมเชิงพลศาสตร์โดยรวมของอาคาร นอกจากนี้ เมื่อเปรียบเทียบกับขั้นตอนวิธีการควบคุมมาตรฐานที่ใช้กับตัวหน่วงการสั่นสะเทือนด้วยมวลแบบไฮบริด (HMD) เช่น ใน [2],[3] หรือที่ได้รับการตรวจสอบทางทฤษฎีแล้วอย่างใน [1]  ขั้นตอนวิธีการควบคุมที่ใช้กับอาคารนี้จึงต้องคำนึงถึงการกระตุ้นที่ได้รับการควบคุมแบบประสานเวลาในทิศทางหลักเพียงทิศทางเดียวและการลดแรงสั่นสะเทือนในทิศทางตั้งฉาก เนื่องจากมีการคาดว่าการตอบสนองทางพลศาสตร์ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นในโหมดการสั่นพื้นฐาน ทั้งสองงานจึงควรใช้การควบคุมสัญญาณตอบกลับเชิงเส้นรวมทั้งประโยชน์ทั้งหมดของการควบคุมนี้เพื่อหลีกเลี่ยงความไม่มั่นคง สำหรับการควบคุมอย่างง่ายที่ใช้งานจริง การควบคุมสัญญาณตอบกลับเชิงเส้นที่ลดการตอบสนองทางพลศาสตร์ของอาคารที่มีต่อการกระตุ้นในทิศทางตั้งฉาก จะขับหัวขับที่เกี่ยวข้องด้วยผลรวมเชิงเส้นถ่วงน้ำหนักจำเพาะของค่าพลศาสตร์ของโครงสร้างทั้งเจ็ด ซึ่งค่าเหล่านี้ ได้แก่: ความเร่งของมวลหน่วงปรับค่าและส่วนบนสุดของอาคาร ความเร็วของมวลหน่วงปรับค่าและส่วนบนสุดของอาคาร การขจัดของมวลหน่วงปรับค่าและส่วนบนสุดของอาคาร และการขจัดสัมพัทธ์ระหว่างมวลหน่วงปรับค่าและส่วนบนสุดของอาคาร

    สิ่งสำคัญคือต้องจำไว้ว่าแฟกเตอร์ถ่วงน้ำหนักที่เลือกจะต้องเป็นค่าเพิ่มสเกลาร์จำนวนเต็มบวกหรือลบ การกำหนดค่าตัวแปรของแฟกเตอร์ถ่วงน้ำหนักขึ้นอยู่กับการทดสอบทางพลศาสตร์ของอาคารและไม่ใช้การปรับเปลี่ยนที่อิงกับความถี่ สัญญาณตอบกลับของหัวขับที่เกิดขึ้นจะได้รับการคำนวณในทันที (ที่ 50 Hz) และเป็นผลรวมเชิงเส้นของค่าพลศาสตร์ที่วัดได้ก่อนหน้านั้น ไม่ใช้การจัดการกับค่าที่ไม่ใช่ค่าเชิงเส้น การออกแบบการควบคุมถูกใช้ในการจําลองระเบียบวิธีเชิงตัวเลขที่ขึ้นอยู่กับเวลา (หรือการหาค่าปริพันธ์โดยตรง) เพื่อเป็นหลักฐานแสดงประสิทธิภาพของหัวขับในการควบคุมการลดแรงสั่นสะเทือน สำหรับการสั่นกระตุ้นจะใช้แนวทางการควบคุมเดียวกันนี้ร่วมกับค่าชดเชยการขจัดที่แสดงให้เห็นถึงการกระตุ้นให้อาคารสั่นจนถึงค่าการขจัดที่ต้องการ ค่าชดเชยนี้เป็นฟังก์ชันเส้นโค้งไซน์ของความถี่พื้นฐานที่ตรวจวัดได้ในแต่ละทิศทาง เอาต์พุตจากการควบคุมที่หักล้างความแปรผันของการขจัดที่ส่วนบนสุดของอาคารเนื่องจากสิ่งรบกวนอื่นๆ จะถูกปรับลดในฟังก์ชันเส้นโค้งไซน์ของค่าชดเชย และค่าควบคุมจะถูกปรับตาม

    รูปที่ 11 - การทำงานของวงจรควบคุมสัญญาณตอบกลับ

    การควบคุมสัญญาณตอบกลับเชิงเส้นที่ลดการตอบสนองทางพลศาสตร์ของอาคารที่มีต่อการกระตุ้นในทิศทางตั้งฉากทำให้สามารถระบุคำสั่งแรงที่หัวขับได้ ซึ่งเป็นผลรวมเชิงเส้นถ่วงน้ำหนักจำเพาะของค่าพลศาสตร์ทั้งเจ็ดของโครงการ ซึ่งค่าทั้งเจ็ดนี้ ได้แก่: ความเร่งของมวลหน่วงปรับค่าและอาคาร ความเร็วของมวลหน่วงปรับค่าและอาคาร การขจัดของมวลหน่วงปรับค่าและอาคาร และการขจัดสัมพัทธ์ระหว่างมวลหน่วงปรับค่าและอาคาร สิ่งสำคัญคือต้องจำไว้ว่าแฟกเตอร์ถ่วงน้ำหนักจะต้องเป็นค่าสเกลาร์จำนวนเต็มบวกหรือลบ การกำหนดค่าตัวแปรของแฟกเตอร์ถ่วงน้ำหนักขึ้นอยู่กับการทดลองทางพลศาสตร์ของอาคาร สัญญาณตอบกลับของหัวขับที่เกิดขึ้นจะได้รับการคำนวณในทันที (ที่ 50 Hz) 

    และแฟกเตอร์ถ่วงน้ำหนักเป็นค่าสเกลาร์ ซึ่งไม่ใช้ฟังก์ชันถ่ายโอนที่อิงกับความถี่ในทุกรูปแบบ และสัญญาณตอบกลับเป็นผลรวมเชิงเส้นของคุณสมบัติทางพลศาสตร์ ไม่ใช้การจัดการหรือตรรกะกับค่าที่ไม่ใช่ค่าเชิงเส้น การออกแบบการควบคุมถูกใช้ในการจําลองระเบียบวิธีเชิงตัวเลขที่ขึ้นอยู่กับเวลา (หรือการหาค่าปริพันธ์โดยตรง) ดังนั้นสามารถปรับอินพุตแรงที่กระทำต่อมวลถ่วงปรับค่าในฐานะแรงควบคุมหัวขับได้ในแต่ละขั้นของเวลา รูปที่ 12 แสดงผลของการจําลองระเบียบวิธีสำหรับการยับยั้งแรงสั่นสะเทือน – การขจัดของอาคาร และการเคลื่อนที่ของมวลถ่วงปรับค่าที่เกิดขึ้น

    รูปที่ 12 - บน: บันทึกเวลาการเบี่ยงจากตำแหน่งเดิมของอาคารที่คำนวณได้ การขจัดของมวล และแรงหัวขับจากการวิเคราะห์ทางคณิตศาสตร์ที่ขึ้นอยู่กับเวลา เพื่อทดสอบขั้นตอนวิธีการควบคุมสำหรับการยับยั้งแรงสั่นสะเทือนที่ใช้มวลหน่วงปรับค่าที่ใช้งานได้สองแบบ (Dual Use TMD)

    สำหรับการสั่นกระตุ้นจะใช้แนวทางการควบคุมเดียวกันนี้ร่วมกับค่าชดเชยที่แสดงให้เห็นถึงการกระตุ้นให้อาคารสั่นจนถึงค่าการขจัดที่ต้องการ ค่าชดเชยนี้เป็นฟังก์ชันเส้นโค้งไซน์ของความถี่พื้นฐานที่ตรวจวัดได้ในแต่ละทิศทาง เอาต์พุตจากการควบคุมที่หักล้างความแปรผันของการขจัดที่ส่วนบนสุดของอาคารเนื่องจากสิ่งรบกวนจะถูกปรับลดในฟังก์ชันเส้นโค้งไซน์ของค่าชดเชย

     และต้องปรับค่าควบคุมตาม การระบุแฟกเตอร์ถ่วงน้ำหนักสำหรับค่าชดเชยนี้จะระบุโดยลองเปลี่ยนค่าไปเรื่อยๆ จนกว่าจะได้ค่าที่เหมาะสม รูปที่ 13 แสดงผลลัพธ์ที่เป็นตัวเลขที่มีการรบกวนของน้ำหนักกระทำจากแรงลมกรรโชกสำหรับการสั่นกระตุ้นโดยมีการกระตุ้นแบบสมการไซน์อย่างง่ายและขั้นตอนวิธีการควบคุมที่ใช้

    รูปที่ 13 - ผลลัพธ์ของการสั่นกระตุ้นที่มีการรบกวนของน้ำหนักกระทำจากแรงลมกรรโชกสำหรับการสั่นกระตุ้นโดยมีการกระตุ้นแบบสมการไซน์อย่างง่ายและขั้นตอนวิธีการควบคุมที่ใช้

    8.0 แนวคิดด้านความปลอดภัย

    เมื่อพิจารณาแรง +/- 40 กิโลนิวตันซึ่งสร้างจากหัวขับเชิงเส้นที่ใช้ แนวคิดด้านความปลอดภัยที่รับรองว่าการขจัดของอาคารจะไม่เกินค่าความล้าที่กำหนดไว้จึงเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง ซึ่งต้องใช้แม้ว่าเอาต์พุตแรงที่เกิดขึ้นไม่มากพอที่จะทำให้ส่วนบนสุดของอาคารเกิดการเบี่ยงจากตำแหน่งเดิมมากกว่าค่าที่กำหนดไว้ คือ +/-200 มม. แนวทางหนึ่งที่จะช่วยเสริมความปลอดภัยให้กับระบบ คือ การเพิ่มจำนวนเซ็นเซอร์ตรวจวัดการเบี่ยงจากตำแหน่งเดิมของส่วนบนสุดของอาคาร ซึ่งทำได้โดยการใช้ระบบควบคุมแยกต่างหากอีกระบบหนึ่งที่ควรใช้หลักการวัดอีกแบบหนึ่งซึ่งแตกต่างไปจากอุปกรณ์ควบคุมที่มีอยู่ สำหรับโครงการที่นำเสนอนี้ อุปกรณ์ควบคุมที่ใช้ดังกล่าว ได้แก่ มาตรวัดความเร่ง และเกณฑ์ขั้นต่ำของความเร่งที่กำหนดสำหรับการกรองความถี่ของสัญญาณภายในช่วงความถี่ธรรมชาติที่เกี่ยวข้องของโครงสร้าง ระบบควบคุมที่เหนือกว่าที่ใช้แทนก็คือระบบนำทางด้วยดาวเทียม (Global Navigation Satellite System, GNSS) ที่มีความแม่นยำ +/- 10 มม. ระบบนำทางด้วยดาวเทียมต้องมีสถานีฐานอ้างอิงสำหรับการประมวลผลข้อมูลพิกัดให้กลายเป็นค่าตอบกลับของการขจัดที่เกิดขึ้นจริง หากการขจัดของส่วนบนสุดของอาคารเกินกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในระหว่างการสั่นกระตุ้นเทียม ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากแรงลมหรือการกระตุ้นอื่นๆ รีเลย์จะสลับสัญญาณไปเป็น 0 โวลต์ ซึ่งจะยกเลิกการสั่นกระตุ้น นอกจากนี้ ระบบควบคุมทั้งสองระบบยังตรวจสอบข้อมูลที่ได้มาอย่างต่อเนื่องเพื่อหาสัญญาณเซ็นเซอร์ที่ผิดพลาด ซึ่งจะทำให้เกิดการยกเลิกการสั่นกระตุ้นแบบแอคทีฟด้วยเช่นกัน สัญญาณความเร่ง/ขดลวดที่ผิดพลาดจะถูกตรวจจับโดยเกณฑ์ที่ดึงเฉพาะค่าที่จุดสูงสุดของคลื่นสัญญาณในช่วงสเปกตรัม หากการดึงเฉพาะค่าที่จุดสูงสุดของคลื่นสัญญาณในช่วงที่เกี่ยวข้องสามารถทำได้เท่านั้น จึงจะสามารถสรุปได้ว่าเซ็นเซอร์ส่งสัญญาณที่ถูกต้อง ในขณะที่ระบบนำทางด้วยดาวเทียมวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของข้อมูลพิกัด แต่หากข้อมูลที่เก็บตัวอย่างไม่เปลี่ยนแปลงอย่างทันท่วงที ให้ถือว่าสัญญาณผิดพลาดได้เลย

    9.0 การทดสอบแรงสั่นสะเทือน

    การทดสอบแรงสั่นสะเทือนของอาคารครั้งแรกทำเมื่อตอนที่อาคารยังสร้างไม่เสร็จ ดังนั้นความถี่พื้นฐานของอาคารในสภาพนี้จึงสูงกว่าช่วงการปรับค่าของระบบมวลหน่วงปรับค่าแบบแพสซีฟที่กำหนด มวลหน่วงปรับค่าถูกปรับความถี่ในการปรับค่าให้สูงสุดเท่าที่จะเป็นไปได้ วัตถุประสงค์ของการทดสอบแรงสั่นสะเทือน คือ เพื่อระบุความถี่พื้นฐานของอาคารที่ปิดใช้งานระบบมวลหน่วงปรับค่า และการหน่วงแรงสั่นสะเทือนโดยธรรมชาติของโครงสร้าง นอกจากนี้ ควรระบุพฤติกรรมเชิงพลศาสตร์ที่ใช้ระบบมวลหน่วงปรับค่าแบบแพสซีฟ รวมถึงการหน่วงแรงสั่นสะเทือนของโครงสร้างที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากระบบมวลหน่วงปรับค่าแบบแพสซีฟด้วย การระบุความถี่ธรรมชาติพื้นฐานของอาคาร วิธีหาความหนาแน่นของสเปกตรัมพลังงานโดยใช้ค่าเฉลี่ยที่เป็นตัวเลขสัญกรณ์วิทยาศาสตร์ (Averaged Normalized Power Spectral Density, ANPSD) [1] สามารถใช้ได้ เพื่อการนี้ ต้องแบ่งบันทึกเวลาออกเป็นส่วนๆ ซึ่งต้องเปลี่ยนส่วนเหล่านี้ให้เป็นโดเมนความถี่ ต้องเปลี่ยนค่าสเปกตรัมที่ได้ให้เป็นตัวเลขสัญกรณ์วิทยาศาสตร์ จากนั้นนำไปหาค่าเฉลี่ยและคูณด้วยค่าสเปกตรัมเชิงซ้อนสังยุค 

    เมื่อทำเช่นนั้น แรงสั่นสะเทือนแบบสุ่มทั้งหมดจะถูกกำจัด และแรงสั่นสะเทือนอิสระของโครงสร้างที่เกิดซ้ำจะแสดงเป็นค่าสเปกตรัมเฉลี่ย ซึ่งจะเป็นความถี่ธรรมชาติของอาคารที่ถูกกระตุ้นเป็นหลัก รูปที่ 14 ซ้าย แสดงบันทึกเวลาของแรงสั่นสะเทือนแวดล้อมในแนวนอน ในทิศทาง x และ y โดยปิดใช้งานมวลหน่วงปรับค่า รูปที่ 14 ขวา แสดงค่าเฉลี่ยของสเปกตรัมพลังงานอัตโนมัติ (Auto Power Spectra) ที่ได้จากการแบ่งส่วนเวลาที่ยาว 120 วินาที สเปกตรัมเผยให้เห็นว่าอาคารแสดงถึงการตอบสนองทางพลศาสตร์ที่ความถี่หลักสองความถี่ (0.225 Hz ในทิศทาง x และ 0.245 Hz ในทิศทาง y)

    นอกเหนือจากวิธีหาค่าสเปกตรัมพลังงานเฉลี่ย (Averaged Power Spectrum) ที่อธิบายไว้ข้างต้น ซึ่งถือว่าการกระตุ้นแวดล้อมก่อให้เกิดการตอบสนองทางพลศาสตร์ที่เพียงพอในโหมดแรงสั่นสะเทือนที่ศึกษา เพื่อเพิ่มความปลอดภัยแบบสุ่ม มีการระบุความถี่ธรรมชาติโดยใช้ซอฟต์แวร์ ARTEMIS ที่มีจำหน่ายทั่วไปเพื่อประมวลผลข้อมูลสัญญาณ [1] ซึ่งมีทั้งวิธีการแตกกระจายโดเมนความถี่แบบเสริมเพิ่ม (Enhanced Frequency Domain Decomposition) และวิธีการระบุพื้นที่ย่อยแบบสุ่ม (Stochastic Subspace Identification)

    รูปที่ 14 - ซ้าย: บันทึกเวลาของความเร่งที่วัดได้ที่ส่วนบนสุดของอาคารในทิศทางหลักทั้งสอง – ขวา: สเปกตรัม APS ที่เกี่ยวข้อง

    การแตกกระจายโดเมนความถี่แบบเสริมเพิ่ม (Enhanced Frequency Domain Decomposition, EFDD) และการระบุพื้นที่ย่อยแบบสุ่ม (Stochastic Subspace Identification) เป็นเทคนิคที่ใช้กันอย่างแพร่หลายสำหรับการระบุตัวแปรในการสั่นที่ได้จากแรงเอาต์พุตที่ออกมาเท่านั้น

    รูปที่ 15 - บัตรความมั่นคงของบันทึกแรงสั่นสะเทือนแวดล้อมที่ปิดใช้งานมวลหน่วงปรับค่า (ซ้าย) และที่เปิดใช้งานมวลหน่วงปรับค่า (ขวา)

    วิธีการแตกกระจายโดเมนความถี่แบบพิเศษ (EFDD) ใช้การคำนวณสเปกตรัมการตอบสนอง ดังนั้น บันทึกที่ยาวต้องรักษาระดับข้อผิดพลาดของค่าสเปกตรัมโดยประมาณให้อยู่ในระดับต่ำและสกัดตัวแปรในการสั่นด้วยวิธีที่เชื่อถือได้ ขั้นตอนวิธีการระบุพื้นที่ย่อยแบบสุ่ม (Stochastic Subspace Identification) ใช้ในการระบุความเชื่อมโยงโดยใช้แบบจำลองของแรงเอาต์พุตที่ออกมาเท่านั้น วิธีการระบุพื้นที่ย่อยแบบสุ่ม (Stochastic Subspace Identification) ทำงานโดยขึ้นอยู่กับเวลาและขึ้นอยู่กับคำอธิบายสถานะในขณะนั้น (state space) ของปัญหาทางพลศาสตร์ ผลการระบุระบบที่ลำดับแบบจำลองต่างๆ จะถูกนำมาเปรียบเทียบกันเพื่อแยกการสั่นของโครงสร้างที่แท้จริงออกจากการสั่นเทียมในสิ่งที่เรียกว่าแผนภาพความเสถียร แผนภาพเหล่านี้เป็นวิธีที่นิยมใช้ในการเลือกแบบจำลองระบบที่ระบุ เพราะการสั่นของโครงสร้างที่แท้จริงมักจะเสถียรในลำดับแบบจำลองที่ต่อเนื่อง โดยจะมีขั้นตอนอัตโนมัติเพื่อประเมินความสอดคล้องกับเกณฑ์ความเสถียรที่กำหนดไว้ รูปที่ 15 แสดงบัตรความเสถียรของข้อมูลแวดล้อมที่บันทึกไว้ ซึ่งจะสามารถระบุการสั่นที่เกี่ยวข้องได้จากข้อมูลนี้ การสั่นที่ระบุและอัตราการหน่วงแรงสั่นสะเทือนที่ระบุสำหรับการสั่นแต่ละแบบในสถานะที่ปิดใช้งานมวลหน่วงปรับค่า (ซ้าย) และเปิดใช้งานมวลหน่วงปรับค่า (ขวา) แสดงในรูปที่ 14 เช่นกัน ซึ่งจะเห็นการหน่วงแรงสั่นสะเทือนของโครงสร้างที่เพิ่มขึ้นด้วย การหน่วงแรงสั่นสะเทือนเพิ่มเติมของโครงสร้างอยู่ในช่วงค่าทางทฤษฎีที่สามารถระบุได้จากแบบจำลองทางทฤษฎีที่ใช้ในการปรับค่าของมวลหน่วงปรับค่าอีกครั้ง

    นอกจากการทดสอบแรงสั่นสะเทือนแวดล้อมด้วยระบบมวลหน่วงปรับค่าแบบแพสซีฟแล้ว ยังมีการทดสอบเบื้องต้นด้วยการสั่นกระตุ้นแบบแอคทีฟด้วย โดยไม่คำนึงถึงสถานะที่ปรับใหม่ของระบบมวลหน่วงปรับค่า รูปที่ 12 ซ้าย แสดงบันทึกเวลาของความเร่งที่บันทึกไว้ที่ส่วนบนสุดของอาคาร หลังจากการกระตุ้นแบบสมการไซน์ครั้งแรก มีการใช้ขั้นตอนวิธีสำหรับระดับความเร่งคงที่เพื่อทดลองระบุค่าสหสัมพันธ์ระหว่างการเบี่ยงจากตำแหน่งเดิมของอาคารและการขจัดของมวลหน่วงปรับค่าที่เกิดจากแรง บันทึกเวลาที่แสดงในรูปที่ 12 แสดงเหตุการณ์ทดสอบของการสั่นกระตุ้น 2 เหตุการณ์ และสเปกตรัม FFT ที่เกี่ยวข้องแสดงการตอบสนองที่ชัดเจนของอาคารในความถี่พื้นฐานทั้งสองของอาคาร (ทิศทาง x และ y)  ส่วนของเวลาที่เป็นสีเขียวคือการกระตุ้นแบบสมการไซน์ของมวลโดยปิดใช้งานการควบคุมแบบแอคทีฟ ซึ่งทำให้เกิดการตอบสนองเชิงพลศาสตร์ในทิศทางหลักทั้งสอง สเปกตรัม FFT ที่เกิดขึ้นแสดงจุดสูงสุดสองจุดเพื่อระบุความถี่พื้นฐานในทั้งสองทิศทาง ส่วนของเวลาที่เป็นสีน้ำเงินคือการกระตุ้นที่เปิดใช้งานการควบคุมแบบแอคทีฟ ซึ่งทำให้การขจัดของอาคารเคลื่อนที่ไปในทิศทางหลักทิศทางเดียวได้คงที่ยิ่งขึ้น การลดลงของแรงสั่นสะเทือนที่เกิดขึ้นหลังจากปิดการสั่นกระตุ้นถูกนำไปใช้เพื่อระบุการหน่วงแรงสั่นสะเทือนของโครงสร้างโดยได้ค่า D=2.4% ผลลัพธ์นี้สัมพันธ์กับอัตราการหน่วงแรงสั่นสะเทือนที่ระบุโดยใช้ขั้นตอนวิธี SSI

    รูปที่ 16 - ซ้าย: บันทึกเวลาของความเร่งที่เกิดขึ้นที่ส่วนบนสุดของอาคารในระหว่างการกระตุ้นเทียม (เป็นสีเขียว: การกระตุ้นแบบสมการไซน์ / เป็นสีน้ำเงิน: การสั่นกระตุ้นที่มีการควบคุมด้วยการยับยั้งแรงในแกนหลักหนึ่งแกน – ขวา: สเปกตรัม FFT ที่เกี่ยวข้อง

    10.0 สรุปและการดำเนินงานในอนาคต

    มีการติดตั้งมวลหน่วงปรับค่าที่ใช้งานได้สองแบบ (Dual Use TMD) ไว้ในหอทดสอบ Thyssen Krupp สูง 246 ม. โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเจตนากระตุ้นให้อาคารหอทดสอบนี้สั่นจนเกิดการตอบสนองทางพลศาสตร์แบบมีการควบคุมถึงความถี่พื้นฐานของตัวอาคาร วัตถุประสงค์ของการกระตุ้นนี้คือเพื่อหาค่าการแกว่งของอาคารในสองทิศทางหลัก จากการคำนวณทางคณิตศาสตร์พบว่าต้องใช้มวลหน่วงปรับค่าขนาด 240 ตันเพื่อให้ได้การหน่วงแรงสั่นสะเทือนเพิ่มเติมที่เพียงพอสำหรับการสั่นแบบแพสซีฟ และเพื่อสร้างแรงควบคุมที่เพียงพอที่จะทำให้การขจัดที่ส่วนบนสุดของอาคารอยู่ในช่วง +/- 200 มม. มีการพัฒนาและทดสอบขั้นตอนวิธีการควบคุมด้วยการจําลองระเบียบวิธีเชิงตัวเลขเพื่อสร้างระดับการขจัดที่คงที่สำหรับการสั่นกระตุ้นและเพื่อยับยั้งการขจัดที่เกิดจากแรงลมและส่วนประกอบของแรงสั่นสะเทือนที่ถูกทำให้สั่นในทิศทางตั้งฉาก หลังจากการติดตั้งระบบมวลหน่วงปรับค่าแบบลูกตุ้มแพสซีฟที่ใช้แผ่นคอนกรีตสำเร็จรูปเป็นมวลต้าน (reaction mass) มีการเปิดใช้งานหัวขับและทำการทดสอบเป็นครั้งแรก การทดสอบแสดงให้เห็นว่าการหน่วงแรงสั่นสะเทือนตามธรรมชาติของอาคารสูงกว่าที่คาดไว้ แต่สามารถระบุการสั่นที่เกี่ยวข้องทั้งหมดได้อย่างชัดเจน การสั่นกระตุ้นแบบแอคทีฟของอาคารทำงานได้ผลและสามารถทำการทดสอบได้ แม้ว่าจะไม่ถึงขั้นที่จะค้นพบตัวแปรในการทำงานจริงทั้งหมดก็ตาม ทั้งนี้เป็นเพราะอาคารยังสร้างไม่เสร็จสมบูรณ์ และด้วยเหตุนี้ จึงยังไม่สามารถปรับแต่งมวลหน่วงปรับค่าแบบแพสซีฟให้เข้ากับความถี่พื้นฐานที่กำหนดได้

    ทันทีที่ปรับแต่งระบบมวลหน่วงปรับค่าได้แล้ว จะมีการทดสอบอาคารเพิ่มเติม ซึ่งจะรวมถึงการทดสอบเกี่ยวกับการหน่วงแรงสั่นสะเทือนที่ขึ้นอยู่กับแอมพลิจูดและการบูรณาการแนวคิดด้านความปลอดภัยด้วย

    เอกสารอ้างอิง

    [1] Wenzel, H.; Pichler, D.; Schedler, R. (1991). “Ambiente Schwingungsmessungen zur System und Schadenserkennung an Tragwerken”, Bauingenieur 74

     

    [2] Döhler, M.; Andersen, P.; Mevel, L. (2012). “การวิเคราะห์ปฏิบัติการโมดอลโดยใช้วิธีการระบุสโตแคสติกแบบเร็ว”, การดำเนินการประชุมของสมาคมเพื่อการทดลองกลศาสตร์

     

    [3] Soong, T.T.; Spencer, J.R. (2000). “การควบคุมโครงสร้างแบบ Active, Semi-Active และ Hybrid” ในการประชุมระดับโลกครั้งที่ 12 สำหรับวิศวกรรมแผ่นดินไหว

     

    [4] Ricciardelli, F.; Pizzimenti, A.D.; Mattei, M. (2003). การควบคุมมวลหน่วงปรับค่าแบบพาสซีฟและแอคทีฟของการตอบสนองของอาคารสูงต่อลมกระโชกแรง. Eng. Struct., 25, 1199–1209

     

    [5] Yang, N.Y.; Agrawal, A.K.; Samali, B.; Wu, J.C. Benchmark Problem for Response Control of Wind-Excited Tall Buildings. J. Eng. Mech. 2004, 130, 437–446. 

     

    [6] Watakabe, M.; Tohdp, M.; Chiba, O.; Izumi, N.; Ebisawa, H.; Fujita, T. Response control performance of a hybrid mass damper applied to a tall building. Earthq. Eng. Struct. Dyn. 2001, 30, 1655–1676.

     

    [7] Tan, P.; Liu, Y.; Zhou, F.; Teng, J. Hybrid Mass Dampers for Canton Tower. CTBUH J. 2012, 24–29.

     

    [8] Soong, T.T. “Active Structural Control: Theory and Practice”; John Wiley & Sons, Inc.: New York, NY, USA, 1990

     

    [9] Preumont, A.; Kazuto, S. (2008). “Active Control of Structures”, Wiley, Padstow

    1.0 บทนำ/ ประวัติความเป็นมา

    หอสูง 246 ม. นี้ตั้งอยู่ในภาคตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศเยอรมนี โดยสร้างขึ้นเพื่อเป็นอาคารสำหรับทดสอบนวัตกรรมของลิฟต์ หอนี้มีผังอาคารเป็นรูปวงกลมที่มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 20 ม. และมีพื้นที่ปล่องลิฟต์สำหรับทดสอบลิฟต์ได้ 9 ตัว ลิฟต์สำหรับใช้ในกรณีเพลิงไหม้หนึ่งตัว และลิฟต์แก้วที่เห็นทิวทัศน์ได้ในมุมกว้างอีกหนึ่งตัว นอกจากนี้ยังมีปล่องสูง 220 ม. อีกหนึ่งปล่องที่สามารถใช้เป็นปล่องลิฟต์เชิงกลเพื่อรับรองโปรแกรมทดสอบด้วย

    ฐานอาคารเป็นรูปวงกลมที่มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 40 ม. ซึ่งเป็นพื้นที่เพิ่มเติมสำหรับงานระบบอาคาร โถงต้อนรับ และศูนย์ศึกษา ที่ความสูง 232 ม. มีดาดฟ้าสำหรับสังเกตการณ์ที่สูงที่สุดในประเทศเยอรมนี สามารถมองเห็นทิวทัศน์ที่งดงามของป่าดำและเห็นไปถึงเทือกเขาแอลป์ในวันที่อากาศแจ่มใส

    รูปที่ 1 - หอทดสอบในเมือง Rottweil ประเทศเยอรมนี

    2.0 ระบบโครงสร้าง

    ระบบโครงสร้างของหอทดสอบเป็นท่อคอนกรีตอัดแรงที่มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 20.8 ม. ปักยึดแน่นเข้าไปในดินลึก 30 ม. (ดูรูปที่ 2) ผนังท่อนี้มีความหนา 40 ซม. จากฐานถึงความสูงที่ระดับ 110 ม. และจากระดับความสูงดังกล่าวเป็นต้นไปผนังท่อจะหนา 25 ซม. ดินในบริเวณนั้นเป็นชั้นหินแข็งที่เรียกว่า Keuper และมีชั้นหินปูนที่เกิดจากการทับถมของเปลือกหอยในยุคดึกดำบรรพ์อยู่ด้านใต้ ทำให้สามารถรับน้ำหนักได้สูง จึงไม่จำเป็นต้องมีการตอกเสาเข็มก่อนวางฐานราก นอกจากดินในบริเวณโดยรอบจะยึดให้หอตั้งอยู่อย่างมั่นคงแล้ว โครงสร้างฐานที่กว้างของหอก็ช่วยเสริมความแข็งแกร่งด้านข้างให้กับหอด้วย

     

    การเสริมความแข็งแกร่งภายในของท่อคอนกรีตส่วนใหญ่เกิดจากผนังด้านในของปล่องลิฟต์ มีการติดตั้งแผ่นฝ้าเพดานสำเร็จรูปไว้ที่บางระดับความสูงเพื่อให้สามารถเข้าถึงปล่องลิฟต์ได้ ปล่องลิฟต์บางปล่องสิ้นสุดที่ระดับความสูง 115 ม. และปิดด้วยแผ่นพื้นช่วงพาดยาวหนา 40 ซม. ซึ่งเป็นพื้นแบบหล่อในที่ ชั้นอาคารเหล่านี้ใช้เป็นพื้นที่สำนักงาน ถัดขึ้นไปด้านบนเป็นพื้นที่ว่างเปล่าจนถึงที่ระดับความสูง 197 ม. ซึ่งใช้เป็นพื้นที่กักเก็บความร้อนและพื้นที่สำหรับระบบมวลหน่วงปรับค่า (TMD) ส่วนบนสุดของหอใช้เป็นพื้นที่สำนักงานและพื้นที่สำหรับปล่องลิฟต์ที่เหลือ

    รูปที่ 2 - การปักยึดลงไปในดิน (ที่มา: Werner Sobek จากสตุทการ์ท)

    องค์ประกอบที่โดดเด่นของหอทดสอบนี้คือผนังด้านนอกของอาคารที่ทำจากแผ่นตาข่ายใยแก้วเคลือบด้วยพอลิเตตระฟลูออโรเอทิลีน (PTFE) ช่องตาข่ายกว้างขึ้นตามความสูงที่เพิ่มขึ้นของอาคาร โดยยิ่งสูงก็จะยิ่งโปร่งมากขึ้น ซึ่งช่วยลดความหนาแน่นและน้ำหนักของวัสดุและลดแรงต้านอากาศ

    รูปทรงที่เป็นเกลียวของผนังด้านนอกของอาคารทำหน้าที่เป็นเกลียวลดการสั่นสะเทือนหรือเกลียว Scruton และตัวแผ่นผนังเองช่วยให้ร่มเงาแก่โครงสร้างคอนกรีตเพื่อหลีกเลี่ยงความเค้นที่เกิดจากความร้อนของแสงอาทิตย์ การออกแบบและการเลือกใช้วัสดุของผนังด้านนอกของอาคารคำนึงถึงการติดตั้ง การบำรุงรักษา ความคงทน และการรับแรงลม

    3.0 ขั้นตอนการก่อสร้าง

    รูปที่ 3 - การปักยึดลงไปในดิน (ที่มา: Züblin AG)

    การก่อสร้างหอทดสอบมีขั้นตอนดังต่อไปนี้:

    • การขุดหลุมกลมลึก 30 ม. เพื่อวางฐานรากของอาคาร การขุดหลุมกลมนี้ทำได้โดยการวางระเบิด หลังจากขุดหลุมแล้ว มีการยึดไม่ให้ดินถล่มลงมาด้วยการฝังสมอยึดดินและการพ่นคอนกรีต
    • การเทฐานรากแพ
    • การก่อสร้างโครงสร้างคอนกรีตในแนวตั้งใช้การหล่อคอนกรีตแบบเลื่อน โดยมีการสร้างผนังทั้งหมดอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 4 เดือน
    • การก่อสร้างแผ่นพื้น
    • การก่อสร้างบริเวณทางเข้า

    4.0 การตอบสนองทางพลศาสตร์ต่อแรงลมที่คาดไว้

    ความถี่พื้นฐานของหอทดสอบคาดว่าจะอยู่ในช่วง 0.17 Hz – 0.20 Hz ต่อวินาที โดยขึ้นอยู่กับขั้นตอนการก่อสร้างและสถานะของคอนกรีต (แตกร้าว/ไม่แตกร้าว) – ดูรูปที่ 4

    รูปที่ 4 - รูปแบบการสั่นสำหรับการสั่น 1-3 / ความถี่พื้นฐาน 0.18 Hz และ 0.19 Hz (ที่มา: Werner Sobek จากสตุทการ์ท)

    การวิเคราะห์ลมพบว่าจะเกิดการสั่นของโครงสร้างที่ความเร็วลมที่ตรงกับค่าความเร็วลมที่ระดับพื้นดิน (ความสูง 10 ม.) ซึ่งก็คือในช่วง 55 – 60 กม./ชม. หากไม่มีการหน่วงแรงสั่นสะเทือนเพิ่มเติม คาดว่าการสั่นของโครงสร้างนี้จะทำให้ส่วนบนของอาคารเบี่ยงจากตำแหน่งเดิมไปประมาณ +/- 750 มม. ซึ่งนอกจากจะทำให้ผู้คนในอาคารรู้สึกไม่สบายแล้ว ยังทำให้โครงสร้างคอนกรีตของอาคารเกิดความล้าเป็นอย่างมากด้วย ซึ่งจะลดอายุการใช้งานของโครงสร้าง (ดูรูปที่ 5) เพื่อลดการตอบสนองทางพลศาสตร์ที่มีต่อการสั่นที่เกิดจากแรงลมที่มาปะทะด้านข้าง จึงมีการใช้ระบบมวลหน่วงปรับค่าแบบแพสซีฟ เนื่องจากอาคารนี้จะใช้เป็นหอทดสอบความไวของอุปกรณ์ลิฟต์ที่มีต่อการแกว่งของอาคาร เจ้าของโครงการจึงมองหาความเป็นไปได้ที่จะกระตุ้นอาคารให้แกว่งเทียมในวันที่ลมสงบ ซึ่งทำให้เกิดการขจัดที่ไม่ก่อให้เกิดปัญหาเรื่องความล้า ระดับการแกว่งเทียมตามคำขอของเจ้าของโครงการและถือว่าปลอดภัยคือประมาณ +/- 200 มม. คำขอของเจ้าของโครงการนี้เป็นโอกาสที่หาได้ยากในการใช้ตัวหน่วงการสั่นสะเทือนด้วยมวลแบบไฮบริด (Hybrid Mass Damper, HMD) หรือที่เรียกว่า มวลหน่วงปรับค่าที่ใช้งานได้สองแบบ (Dual Use TMD) เนื่องจากระบบการออกแบบแตกต่างไปจากระบบตัวหน่วงการสั่นสะเทือนด้วยมวลแบบไฮบริดอื่นๆ ที่เคยใช้ในอดีต ในบทถัดไปจะมีการนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับระบบนี้ รวมถึงการปรับแต่งระบบแพสซีฟ การออกแบบกลไกหัวขับ ขั้นตอนวิธีการควบคุม และแนวคิดด้านความปลอดภัย

    รูปที่ 5 - การทดสอบโดยใช้อุโมงค์ลมของหอทดสอบ (ที่มา: Wacker Ingenieure)

    5.0 การปรับแต่งระบบมวลหน่วงปรับค่าแบบแพสซีฟ

    ต้องระบุตัวแปรของระบบมวลหน่วงปรับค่าแบบแพสซีฟโดยคำนึงถึงสามประเด็น ได้แก่ ก) เพื่อให้การหน่วงแรงสั่นสะเทือนเพิ่มเติมแก่โครงสร้างอย่างเพียงพอ เพื่อลดการตอบสนองทางพลศาสตร์ที่เกิดจากการสั่นเมื่อมีกระแสลมไหลวน ข) เพื่อจำกัดการเคลื่อนที่ของมวลหลักของมวลหน่วงปรับค่าในการสั่นแพสซีฟที่เกิดขึ้นให้อยู่ในค่าที่เป็นไปได้และสมเหตุสมผล สำหรับเวลาที่เกิดการสั่นเนื่องจากแรงลมกรรโชกที่มาปะทะด้านข้าง และ ค) เพื่อเลือกมวลหน่วงปรับค่าให้สอดคล้องอินพุตของพลังงานที่จะทำให้เกิดการเบี่ยงสูงสุดจากตำแหน่งเดิมของอาคารในการสั่นกระตุ้น โดยพิจารณาประสิทธิภาพในการต้านแรงลมที่เกิดขึ้นจากหัวขับที่มี (หรือ แรงสูงสุดที่เกิดขึ้นและช่วงแรงชักสูงสุดในระหว่างการปฏิบัติงาน) มีการใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์เพื่อปรับแต่งระบบมวลหน่วงปรับค่า ซึ่งแสดงถึงการกระจายมวลน้ำหนักของอาคารและโมเมนต์ความเฉื่อยของมวลตามที่รายงานไว้ในคุณสมบัติทางโครงสร้างที่กำหนด องค์ประกอบเพื่อความแข็งแกร่งระหว่างพื้นอาคารได้รับการออกแบบมาให้สอดคล้องกับรูปแบบการสั่นและความถี่ธรรมชาติที่ได้จากการสังเกตการณ์อย่างเต็มรูปแบบ รูปที่ 6 ซ้าย แสดงรูปแบบการสั่นและความถี่ธรรมชาติของแบบจำลองเปรียบเทียบที่ใช้ นอกจากนี้ รูปที่ 6 ซ้าย ยังแสดงรูปแบบการสั่นของแบบจำลองเปรียบเทียบโดยเทียบกับต้นแบบอย่างละเอียดของที่จัดทำโดยปรึกษาด้านโครงสร้างด้วย

    รูปที่ 6 - การสั่นที่เกี่ยวข้องและความถี่ธรรมชาติที่คำนวณได้สำหรับการปรับเทียบแบบจำลอง – การเปรียบเทียบรูปแบบการสั่น
    รูปที่ 7 - บน: บันทึกเวลาที่สร้างสำหรับแรงลมที่ปะทะด้านข้างและสเปกตรัม FFT ที่เกิดขึ้น – ล่าง: การขจัดของอาคารที่มีและไม่มีการปรับแต่งมวลหน่วงปรับค่าและการขจัดของมวลหน่วงปรับค่าที่เกิดขึ้น

    นอกจากนี้ ยังมีการสร้างแบบจำลองมวลหน่วงปรับค่าแยกต่างหากให้เป็นระบบลูกตุ้มที่สามารถจับตำแหน่งเยื้องศูนย์กลางของตัวมวลเองในหออาคารได้ด้วย คุณลักษณะของน้ำหนักกระทำสำหรับควบคุมแรงป้อนที่มากระทำหรือการสั่นของโครงสร้างเนื่องจากกระแสลมไหลวนก็เหมือนกับการกระตุ้นให้เกิดการสั่นด้วยการเคลื่อนที่แบบฮาร์มอนิกอย่างง่าย อย่างไรก็ตาม แรงลมกรรโชกที่มีอยู่เป็นลักษณะตามธรรมชาติที่เกิดขึ้นแบบสุ่ม ดังนั้นจึงต้องใช้เกณฑ์ในการปรับแต่งอื่นที่นอกเหนือจากเกณฑ์ Den Hartog อันเป็นที่รู้จักกันดี นอกจากนี้ การเคลื่อนที่สัมพัทธ์ของมวลหน่วงปรับค่าของแรงลมแบบสุ่มยังมากกว่าแบบฮาร์มอนิกด้วย การกำหนดค่าตัวเลขของตัวแปรที่เหมาะสมของมวลหน่วงปรับค่าควรพิจารณาแรงลมที่ใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุด บันทึกเวลาที่สร้างขึ้นมีทั้งแรงลมกรรโชกแบบสุ่ม (ตามสเปกตรัม Davenport) และการสั่นที่มีความถี่ตรงกัน กระแสลมไหลวน ส่วนประกอบที่แสดงถึงการสั่นที่เกิดจากแรงลมที่มาปะทะด้านข้างโดยรวม (ดูรูปที่ 3 ขวา) การลดการเบี่ยงจากตำแหน่งเดิมของอาคารเกิดจากระบบมวลหน่วงปรับค่าแบบแพสซีฟที่ปรับแต่งแล้ว และการขจัดของมวลหน่วงปรับค่าที่เกิดขึ้นแสดงอยู่ในรูปที่ 3 ขวา จากผลการทดสอบเหล่านี้ที่มีค่าการหน่วงแรงสั่นสะเทือนโดยธรรมชาติของโครงสร้างโดยประมาณ ξ=0.8 % สามารถระบุได้ว่าต้องใช้มวลหน่วงปรับค่าหนัก 240 ตันเพื่อให้ได้การขจัดในขอบเขต +/- 650 มม. โดยที่ยังคงรักษาอัตราการหน่วงของมวลหน่วงปรับค่าไว้ได้ในระดับที่เหมาะสม  เพื่อให้มวลหน่วงปรับค่ามีประสิทธิภาพสูงสุด การหน่วงที่เพิ่มขึ้นของมวลหน่วงปรับค่าจะช่วยลดระยะการเคลื่อนที่พร้อมทั้งยังคงมีสมรรถนะที่เพียงพอ แต่อาจส่งผลเสียต่อแรงที่เกิดจากหัวขับ เพื่อระบุแรงที่ต้องใช้ให้การปรับตั้งมวลหน่วงปรับค่าขนาด 240 ตันให้เหมาะสม จึงมีการใช้แบบจำลองเปรียบเทียบเพื่อตรวจสอบว่า ด้วยแรงสูงสุด 40 กิโลนิวตันจากหัวขับ อาคารจะเบี่ยงจากตำแหน่งเดิมในช่วง +/- 200 มม. ได้หรือไม่ รูปที่ 4 แสดงผลของการจําลองระเบียบวิธีเชิงตัวเลขที่ขึ้นอยู่กับเวลาบนแบบจำลองเปรียบเทียบทางคณิตศาสตร์ ซึ่งในที่นี่แสดงการเบี่ยงจากตำแหน่งเดิมของส่วนบนสุดของอาคารที่เกิดขึ้น การเบี่ยงจากตำแหน่งเดิมของมวลหน่วงปรับค่า และแรงอินพุตกระทำอย่างต่อเนื่องที่เป็นสาเหตุของการเบี่ยงจากตำแหน่งเดิมดังกล่าว

    รูปที่ 8 - สายแขวนลูกตุ้มที่รองรับมวลหน่วงปรับค่า
    รูปที่ 9 - มอเตอร์เชิงเส้นทำหน้าที่เป็นหัวขับ

    6.0 คำอธิบายระบบควบคุม

    การทำงานเป็นคู่ของระบบควบคุมตอบโจทย์ ก) วัตถุประสงค์ในลดการใช้พลังงานในขณะทำงานแบบแพสซีฟตามปกติเพื่อลดแรงสั่นสะเทือนที่เกิดขึ้น ข) วัตถุประสงค์ในการลดแรงที่หัวขับต้องใช้ด้วยการใช้ปรากฏการณ์เรโซแนนซ์เพื่อกระตุ้นมวลหน่วงปรับค่าหลักให้ได้แรงจริงสูงสุดตามที่ต้องการ ดังนั้นเมื่อเทียบกับระบบควบคุมอื่นๆ (ดูรูปที่ 1) หัวขับจะเชื่อมต่อโครงสร้างหลักและมวลหน่วงปรับค่าเข้าด้วยกัน แต่ไม่ใช้เพื่อควบคุมมวลหน่วงปรับค่าโดยตรง มิฉะนั้นจะกลายเป็นระบบตัวขับมวลแบบแอคทีฟ (Active Mass Driver) หรือตัวหน่วงทั่วไป สำหรับมวลหน่วงปรับค่าที่ใช้งานได้สองแบบ (Dual Use TMD) ที่ใช้ อาคารนี้เลือกใช้มวลตอบสนองสำหรับการทำงานแบบแพสซีฟที่มีน้ำหนัก 240 ตัน สำหรับการสั่นกระตุ้นมีหัวขับเชิงเส้นสองหัว หนึ่งหัวต่อหนึ่งทิศทางหลัก ซึ่งยึดติดอยู่กับมวลหน่วงปรับค่าด้วยข้อต่อหมุนใกล้กับจุดศูนย์ถ่วงของมวลเพื่อหลีกเลี่ยงแรงบิดที่ไม่พึงประสงค์  หัวขับเชิงเส้นแต่ละตัวสามารถสร้างแรงได้ถึง 40 กิโลนิวตันได้ภายในช่วงชักสูงสุด +/- 600 มม. เพียงช่วงเดียว (ดูรายละเอียดในรูปที่ 2) หัวขับเชิงเส้นสามารถถอดออกได้ ดังนั้นการสั่นแบบแพสซีฟทั้งหมดจะไม่ได้รับผลกระทบจากตลับลูกปืนของหัวขับในกรณีที่ตลับลูกปืนเกิดความขัดข้อง ซึ่งเป็นกรณีที่เกิดขึ้นได้ยาก

    รูปที่ 10 - ประเภทของระบบควบคุม – มวลหน่วงปรับค่าที่ใช้งานได้สองแบบ (Dual Use TMD) เทียบกับระบบแพสซีฟ กึ่งแอคทีฟ แอคทีฟและไฮบริด

    ระบบประกอบด้วยมาตรวัดความเร่งแกนเดียวสี่ตัว (คานรูปตัว K สำหรับรับแรงแผ่นดินไหว/MEMS หนึ่งคานต่อหนึ่งทิศทาง) เพื่อระบุระดับสูงสุดของอาคารและความเร่งของมวลหน่วงปรับค่า สัญญาณความเร่งจะถูกกรองความถี่ภายในช่วงความถี่ธรรมชาติพื้นฐานของอาคาร (0.1 – 0.3 Hz) และหาค่าปริพันธ์เพื่อให้ความเร็วและการเบี่ยงจากตำแหน่งเดิมแก่อาคาร นอกจากนี้ ค่าการขจัดที่หาค่าปริพันธ์แล้วสามารถนำไปเปรียบเทียบกับค่าที่วัดได้จากระบบนำทางด้วยดาวเทียมที่ติดตั้งเสริมไว้ที่ด้านบนสุดได้ด้วย เพื่อเปรียบเทียบค่าคลาดเคลื่อนของสัญญาณ จากนั้นจะทำการทดสอบสหสัมพันธ์ตามข้อมูลที่ได้ นอกจากนี้ มีการควบคุมการขจัดของมวลหน่วงปรับค่าโดยตรงด้วยอุปกรณ์แปลงพลังงานหรือทรานสดิวเซอร์แบบขดลวดและระบบวัดความยาวแบบเหนี่ยวนำที่อยู่ในมอเตอร์เชิงเส้น

    7.0 ขั้นตอนวิธีการควบคุม

    วงจรการควบคุมทั่วไปของอาคารแสดงไว้ในรูปที่ 5 ซึ่งแสดงลำดับการควบคุมแบบวงจรปิด การออกแบบอย่างละเอียดของขั้นตอนวิธีการควบคุมจะต้องมีแบบจำลองเชิงวิเคราะห์ของปฏิสัมพันธ์ระหว่างหัวขับกับมวลหน่วงปรับค่า เพื่อระบุความสัมพันธ์ระหว่างอินพุตแรงจากหัวขับและแรงกระทำที่ใช้ ซึ่งต้องใช้ร่วมกับแบบจำลองเชิงวิเคราะห์ของโครงสร้างหลักที่อธิบายพฤติกรรมเชิงพลศาสตร์โดยรวมของอาคาร นอกจากนี้ เมื่อเปรียบเทียบกับขั้นตอนวิธีการควบคุมมาตรฐานที่ใช้กับตัวหน่วงการสั่นสะเทือนด้วยมวลแบบไฮบริด (HMD) เช่น ใน [2],[3] หรือที่ได้รับการตรวจสอบทางทฤษฎีแล้วอย่างใน [1]  ขั้นตอนวิธีการควบคุมที่ใช้กับอาคารนี้จึงต้องคำนึงถึงการกระตุ้นที่ได้รับการควบคุมแบบประสานเวลาในทิศทางหลักเพียงทิศทางเดียวและการลดแรงสั่นสะเทือนในทิศทางตั้งฉาก เนื่องจากมีการคาดว่าการตอบสนองทางพลศาสตร์ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นในโหมดการสั่นพื้นฐาน ทั้งสองงานจึงควรใช้การควบคุมสัญญาณตอบกลับเชิงเส้นรวมทั้งประโยชน์ทั้งหมดของการควบคุมนี้เพื่อหลีกเลี่ยงความไม่มั่นคง สำหรับการควบคุมอย่างง่ายที่ใช้งานจริง การควบคุมสัญญาณตอบกลับเชิงเส้นที่ลดการตอบสนองทางพลศาสตร์ของอาคารที่มีต่อการกระตุ้นในทิศทางตั้งฉาก จะขับหัวขับที่เกี่ยวข้องด้วยผลรวมเชิงเส้นถ่วงน้ำหนักจำเพาะของค่าพลศาสตร์ของโครงสร้างทั้งเจ็ด ซึ่งค่าเหล่านี้ ได้แก่: ความเร่งของมวลหน่วงปรับค่าและส่วนบนสุดของอาคาร ความเร็วของมวลหน่วงปรับค่าและส่วนบนสุดของอาคาร การขจัดของมวลหน่วงปรับค่าและส่วนบนสุดของอาคาร และการขจัดสัมพัทธ์ระหว่างมวลหน่วงปรับค่าและส่วนบนสุดของอาคาร สิ่งสำคัญคือต้องจำไว้ว่าแฟกเตอร์ถ่วงน้ำหนักที่เลือกจะต้องเป็นค่าเพิ่มสเกลาร์จำนวนเต็มบวกหรือลบ การกำหนดค่าตัวแปรของแฟกเตอร์ถ่วงน้ำหนักขึ้นอยู่กับการทดสอบทางพลศาสตร์ของอาคารและไม่ใช้การปรับเปลี่ยนที่อิงกับความถี่ สัญญาณตอบกลับของหัวขับที่เกิดขึ้นจะได้รับการคำนวณในทันที (ที่ 50 Hz) และเป็นผลรวมเชิงเส้นของค่าพลศาสตร์ที่วัดได้ก่อนหน้านั้น ไม่ใช้การจัดการกับค่าที่ไม่ใช่ค่าเชิงเส้น การออกแบบการควบคุมถูกใช้ในการจําลองระเบียบวิธีเชิงตัวเลขที่ขึ้นอยู่กับเวลา (หรือการหาค่าปริพันธ์โดยตรง) เพื่อเป็นหลักฐานแสดงประสิทธิภาพของหัวขับในการควบคุมการลดแรงสั่นสะเทือน สำหรับการสั่นกระตุ้นจะใช้แนวทางการควบคุมเดียวกันนี้ร่วมกับค่าชดเชยการขจัดที่แสดงให้เห็นถึงการกระตุ้นให้อาคารสั่นจนถึงค่าการขจัดที่ต้องการ ค่าชดเชยนี้เป็นฟังก์ชันเส้นโค้งไซน์ของความถี่พื้นฐานที่ตรวจวัดได้ในแต่ละทิศทาง เอาต์พุตจากการควบคุมที่หักล้างความแปรผันของการขจัดที่ส่วนบนสุดของอาคารเนื่องจากสิ่งรบกวนอื่นๆ จะถูกปรับลดในฟังก์ชันเส้นโค้งไซน์ของค่าชดเชย และค่าควบคุมจะถูกปรับตาม

    รูปที่ 11 - การทำงานของวงจรควบคุมสัญญาณตอบกลับ

    การควบคุมสัญญาณตอบกลับเชิงเส้นที่ลดการตอบสนองทางพลศาสตร์ของอาคารที่มีต่อการกระตุ้นในทิศทางตั้งฉากทำให้สามารถระบุคำสั่งแรงที่หัวขับได้ ซึ่งเป็นผลรวมเชิงเส้นถ่วงน้ำหนักจำเพาะของค่าพลศาสตร์ทั้งเจ็ดของโครงการ ซึ่งค่าทั้งเจ็ดนี้ ได้แก่: ความเร่งของมวลหน่วงปรับค่าและอาคาร ความเร็วของมวลหน่วงปรับค่าและอาคาร การขจัดของมวลหน่วงปรับค่าและอาคาร และการขจัดสัมพัทธ์ระหว่างมวลหน่วงปรับค่าและอาคาร สิ่งสำคัญคือต้องจำไว้ว่าแฟกเตอร์ถ่วงน้ำหนักจะต้องเป็นค่าสเกลาร์จำนวนเต็มบวกหรือลบ การกำหนดค่าตัวแปรของแฟกเตอร์ถ่วงน้ำหนักขึ้นอยู่กับการทดลองทางพลศาสตร์ของอาคาร สัญญาณตอบกลับของหัวขับที่เกิดขึ้นจะได้รับการคำนวณในทันที (ที่ 50 Hz) และแฟกเตอร์ถ่วงน้ำหนักเป็นค่าสเกลาร์ ซึ่งไม่ใช้ฟังก์ชันถ่ายโอนที่อิงกับความถี่ในทุกรูปแบบ และสัญญาณตอบกลับเป็นผลรวมเชิงเส้นของคุณสมบัติทางพลศาสตร์ ไม่ใช้การจัดการหรือตรรกะกับค่าที่ไม่ใช่ค่าเชิงเส้น การออกแบบการควบคุมถูกใช้ในการจําลองระเบียบวิธีเชิงตัวเลขที่ขึ้นอยู่กับเวลา (หรือการหาค่าปริพันธ์โดยตรง) ดังนั้นสามารถปรับอินพุตแรงที่กระทำต่อมวลถ่วงปรับค่าในฐานะแรงควบคุมหัวขับได้ในแต่ละขั้นของเวลา รูปที่ 12 แสดงผลของการจําลองระเบียบวิธีสำหรับการยับยั้งแรงสั่นสะเทือน – การขจัดของอาคาร และการเคลื่อนที่ของมวลถ่วงปรับค่าที่เกิดขึ้น

    รูปที่ 12 - บน: บันทึกเวลาการเบี่ยงจากตำแหน่งเดิมของอาคารที่คำนวณได้ การขจัดของมวล และแรงหัวขับจากการวิเคราะห์ทางคณิตศาสตร์ที่ขึ้นอยู่กับเวลา เพื่อทดสอบขั้นตอนวิธีการควบคุมสำหรับการยับยั้งแรงสั่นสะเทือนที่ใช้มวลหน่วงปรับค่าที่ใช้งานได้สองแบบ (Dual Use TMD)

    สำหรับการสั่นกระตุ้นจะใช้แนวทางการควบคุมเดียวกันนี้ร่วมกับค่าชดเชยที่แสดงให้เห็นถึงการกระตุ้นให้อาคารสั่นจนถึงค่าการขจัดที่ต้องการ ค่าชดเชยนี้เป็นฟังก์ชันเส้นโค้งไซน์ของความถี่พื้นฐานที่ตรวจวัดได้ในแต่ละทิศทาง เอาต์พุตจากการควบคุมที่หักล้างความแปรผันของการขจัดที่ส่วนบนสุดของอาคารเนื่องจากสิ่งรบกวนอื่นๆ จะถูกปรับลดในฟังก์ชันเส้นโค้งไซน์ของค่าชดเชย และต้องปรับค่าควบคุมตาม การระบุแฟกเตอร์ถ่วงน้ำหนักสำหรับค่าชดเชยนี้จะระบุโดยลองเปลี่ยนค่าไปเรื่อยๆ จนกว่าจะได้ค่าที่เหมาะสม รูปที่ 13 แสดงผลลัพธ์ที่เป็นตัวเลขที่มีการรบกวนของน้ำหนักกระทำจากแรงลมกรรโชกสำหรับการสั่นกระตุ้นโดยมีการกระตุ้นแบบสมการไซน์อย่างง่ายและขั้นตอนวิธีการควบคุมที่ใช้

    รูปที่ 13 - ผลลัพธ์ของการสั่นกระตุ้นที่มีการรบกวนของน้ำหนักกระทำจากแรงลมกรรโชกสำหรับการสั่นกระตุ้นโดยมีการกระตุ้นแบบสมการไซน์อย่างง่ายและขั้นตอนวิธีการควบคุมที่ใช้

    8.0 แนวคิดด้านความปลอดภัย

    เมื่อพิจารณาแรง +/- 40 กิโลนิวตันซึ่งสร้างจากหัวขับเชิงเส้นที่ใช้ แนวคิดด้านความปลอดภัยที่รับรองว่าการขจัดของอาคารจะไม่เกินค่าความล้าที่กำหนดไว้จึงเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง ซึ่งต้องใช้แม้ว่าเอาต์พุตแรงที่เกิดขึ้นไม่มากพอที่จะทำให้ส่วนบนสุดของอาคารเกิดการเบี่ยงจากตำแหน่งเดิมมากกว่าค่าที่กำหนดไว้ คือ +/-200 มม. แนวทางหนึ่งที่จะช่วยเสริมความปลอดภัยให้กับระบบ คือ การเพิ่มจำนวนเซ็นเซอร์ตรวจวัดการเบี่ยงจากตำแหน่งเดิมของส่วนบนสุดของอาคาร ซึ่งทำได้โดยการใช้ระบบควบคุมแยกต่างหากอีกระบบหนึ่งที่ควรใช้หลักการวัดอีกแบบหนึ่งซึ่งแตกต่างไปจากอุปกรณ์ควบคุมที่มีอยู่ สำหรับโครงการที่นำเสนอนี้ อุปกรณ์ควบคุมที่ใช้ดังกล่าว ได้แก่ มาตรวัดความเร่ง และเกณฑ์ขั้นต่ำของความเร่งที่กำหนดสำหรับการกรองความถี่ของสัญญาณภายในช่วงความถี่ธรรมชาติที่เกี่ยวข้องของโครงสร้าง ระบบควบคุมที่เหนือกว่าที่ใช้แทนก็คือระบบนำทางด้วยดาวเทียม (Global Navigation Satellite System, GNSS) ที่มีความแม่นยำ +/- 10 มม. ระบบนำทางด้วยดาวเทียมต้องมีสถานีฐานอ้างอิงสำหรับการประมวลผลข้อมูลพิกัดให้กลายเป็นค่าตอบกลับของการขจัดที่เกิดขึ้นจริง หากการขจัดของส่วนบนสุดของอาคารเกินกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในระหว่างการสั่นกระตุ้นเทียม ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากแรงลมหรือการกระตุ้นอื่นๆ รีเลย์จะสลับสัญญาณไปเป็น 0 โวลต์ ซึ่งจะยกเลิกการสั่นกระตุ้น นอกจากนี้ ระบบควบคุมทั้งสองระบบยังตรวจสอบข้อมูลที่ได้มาอย่างต่อเนื่องเพื่อหาสัญญาณเซ็นเซอร์ที่ผิดพลาด ซึ่งจะทำให้เกิดการยกเลิกการสั่นกระตุ้นแบบแอคทีฟด้วยเช่นกัน สัญญาณความเร่ง/ขดลวดที่ผิดพลาดจะถูกตรวจจับโดยเกณฑ์ที่ดึงเฉพาะค่าที่จุดสูงสุดของคลื่นสัญญาณในช่วงสเปกตรัม หากการดึงเฉพาะค่าที่จุดสูงสุดของคลื่นสัญญาณในช่วงที่เกี่ยวข้องสามารถทำได้เท่านั้น จึงจะสามารถสรุปได้ว่าเซ็นเซอร์ส่งสัญญาณที่ถูกต้อง ในขณะที่ระบบนำทางด้วยดาวเทียมวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของข้อมูลพิกัด แต่หากข้อมูลที่เก็บตัวอย่างไม่เปลี่ยนแปลงอย่างทันท่วงที ให้ถือว่าสัญญาณผิดพลาดได้เลย

    9.0 การทดสอบแรงสั่นสะเทือน

    การทดสอบแรงสั่นสะเทือนของอาคารครั้งแรกทำเมื่อตอนที่อาคารยังสร้างไม่เสร็จ ดังนั้นความถี่พื้นฐานของอาคารในสภาพนี้จึงสูงกว่าช่วงการปรับค่าของระบบมวลหน่วงปรับค่าแบบแพสซีฟที่กำหนด มวลหน่วงปรับค่าถูกปรับความถี่ในการปรับค่าให้สูงสุดเท่าที่จะเป็นไปได้ วัตถุประสงค์ของการทดสอบแรงสั่นสะเทือน คือ เพื่อระบุความถี่พื้นฐานของอาคารที่ปิดใช้งานระบบมวลหน่วงปรับค่า และการหน่วงแรงสั่นสะเทือนโดยธรรมชาติของโครงสร้าง นอกจากนี้ ควรระบุพฤติกรรมเชิงพลศาสตร์ที่ใช้ระบบมวลหน่วงปรับค่าแบบแพสซีฟ รวมถึงการหน่วงแรงสั่นสะเทือนของโครงสร้างที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากระบบมวลหน่วงปรับค่าแบบแพสซีฟด้วย การระบุความถี่ธรรมชาติพื้นฐานของอาคาร วิธีหาความหนาแน่นของสเปกตรัมพลังงานโดยใช้ค่าเฉลี่ยที่เป็นตัวเลขสัญกรณ์วิทยาศาสตร์ (Averaged Normalized Power Spectral Density, ANPSD) [1] สามารถใช้ได้ เพื่อการนี้ ต้องแบ่งบันทึกเวลาออกเป็นส่วนๆ ซึ่งต้องเปลี่ยนส่วนเหล่านี้ให้เป็นโดเมนความถี่ ต้องเปลี่ยนค่าสเปกตรัมที่ได้ให้เป็นตัวเลขสัญกรณ์วิทยาศาสตร์ จากนั้นนำไปหาค่าเฉลี่ยและคูณด้วยค่าสเปกตรัมเชิงซ้อนสังยุค

    เมื่อทำเช่นนั้น แรงสั่นสะเทือนแบบสุ่มทั้งหมดจะถูกกำจัด และแรงสั่นสะเทือนอิสระของโครงสร้างที่เกิดซ้ำจะแสดงเป็นค่าสเปกตรัมเฉลี่ย ซึ่งจะเป็นความถี่ธรรมชาติของอาคารที่ถูกกระตุ้นเป็นหลัก รูปที่ 14 ซ้าย แสดงบันทึกเวลาของแรงสั่นสะเทือนแวดล้อมในแนวนอน ในทิศทาง x และ y โดยปิดใช้งานมวลหน่วงปรับค่า รูปที่ 14 ขวา แสดงค่าเฉลี่ยของสเปกตรัมพลังงานอัตโนมัติ (Auto Power Spectra) ที่ได้จากการแบ่งส่วนเวลาที่ยาว 120 วินาที สเปกตรัมเผยให้เห็นว่าอาคารแสดงถึงการตอบสนองทางพลศาสตร์ที่ความถี่หลักสองความถี่ (0.225 Hz ในทิศทาง x และ 0.245 Hz ในทิศทาง y)

    นอกเหนือจากวิธีหาค่าสเปกตรัมพลังงานเฉลี่ย (Averaged Power Spectrum) ที่อธิบายไว้ข้างต้น ซึ่งถือว่าการกระตุ้นแวดล้อมก่อให้เกิดการตอบสนองทางพลศาสตร์ที่เพียงพอในโหมดแรงสั่นสะเทือนที่ศึกษา เพื่อเพิ่มความปลอดภัยแบบสุ่ม มีการระบุความถี่ธรรมชาติโดยใช้ซอฟต์แวร์ ARTEMIS ที่มีจำหน่ายทั่วไปเพื่อประมวลผลข้อมูลสัญญาณ [1] ซึ่งมีทั้งวิธีการแตกกระจายโดเมนความถี่แบบเสริมเพิ่ม (Enhanced Frequency Domain Decomposition) และวิธีการระบุพื้นที่ย่อยแบบสุ่ม (Stochastic Subspace Identification)

    รูปที่ 14 - ซ้าย: บันทึกเวลาของความเร่งที่วัดได้ที่ส่วนบนสุดของอาคารในทิศทางหลักทั้งสอง – ขวา: สเปกตรัม APS ที่เกี่ยวข้อง

    การแตกกระจายโดเมนความถี่แบบเสริมเพิ่ม (Enhanced Frequency Domain Decomposition, EFDD) และการระบุพื้นที่ย่อยแบบสุ่ม (Stochastic Subspace Identification) เป็นเทคนิคที่ใช้กันอย่างแพร่หลายสำหรับการระบุตัวแปรในการสั่นที่ได้จากแรงเอาต์พุตที่ออกมาเท่านั้น

    รูปที่ 15 - บัตรความมั่นคงของบันทึกแรงสั่นสะเทือนแวดล้อมที่ปิดใช้งานมวลหน่วงปรับค่า (ซ้าย) และที่เปิดใช้งานมวลหน่วงปรับค่า (ขวา)

    วิธีการแตกกระจายโดเมนความถี่แบบพิเศษ (EFDD) ใช้การคำนวณสเปกตรัมการตอบสนอง ดังนั้น บันทึกที่ยาวต้องรักษาระดับข้อผิดพลาดของค่าสเปกตรัมโดยประมาณให้อยู่ในระดับต่ำและสกัดตัวแปรในการสั่นด้วยวิธีที่เชื่อถือได้ ขั้นตอนวิธีการระบุพื้นที่ย่อยแบบสุ่ม (Stochastic Subspace Identification) ใช้ในการระบุความเชื่อมโยงโดยใช้แบบจำลองของแรงเอาต์พุตที่ออกมาเท่านั้น วิธีการระบุพื้นที่ย่อยแบบสุ่ม (Stochastic Subspace Identification) ทำงานโดยขึ้นอยู่กับเวลาและขึ้นอยู่กับคำอธิบายสถานะในขณะนั้น (state space) ของปัญหาทางพลศาสตร์ ผลการระบุระบบที่ลำดับแบบจำลองต่างๆ จะถูกนำมาเปรียบเทียบกันเพื่อแยกการสั่นของโครงสร้างที่แท้จริงออกจากการสั่นเทียมในสิ่งที่เรียกว่าแผนภาพความเสถียร แผนภาพเหล่านี้เป็นวิธีที่นิยมใช้ในการเลือกแบบจำลองระบบที่ระบุ เพราะการสั่นของโครงสร้างที่แท้จริงมักจะเสถียรในลำดับแบบจำลองที่ต่อเนื่อง โดยจะมีขั้นตอนอัตโนมัติเพื่อประเมินความสอดคล้องกับเกณฑ์ความเสถียรที่กำหนดไว้ รูปที่ 15 แสดงบัตรความเสถียรของข้อมูลแวดล้อมที่บันทึกไว้ ซึ่งจะสามารถระบุการสั่นที่เกี่ยวข้องได้จากข้อมูลนี้ การสั่นที่ระบุและอัตราการหน่วงแรงสั่นสะเทือนที่ระบุสำหรับการสั่นแต่ละแบบในสถานะที่ปิดใช้งานมวลหน่วงปรับค่า (ซ้าย) และเปิดใช้งานมวลหน่วงปรับค่า (ขวา) แสดงในรูปที่ 14 เช่นกัน ซึ่งจะเห็นการหน่วงแรงสั่นสะเทือนของโครงสร้างที่เพิ่มขึ้นด้วย การหน่วงแรงสั่นสะเทือนเพิ่มเติมของโครงสร้างอยู่ในช่วงค่าทางทฤษฎีที่สามารถระบุได้จากแบบจำลองทางทฤษฎีที่ใช้ในการปรับค่าของมวลหน่วงปรับค่าอีกครั้ง นอกจากการทดสอบแรงสั่นสะเทือนแวดล้อมด้วยระบบมวลหน่วงปรับค่าแบบแพสซีฟแล้ว ยังมีการทดสอบเบื้องต้นด้วยการสั่นกระตุ้นแบบแอคทีฟด้วย โดยไม่คำนึงถึงสถานะที่ปรับใหม่ของระบบมวลหน่วงปรับค่า รูปที่ 12 ซ้าย แสดงบันทึกเวลาของความเร่งที่บันทึกไว้ที่ส่วนบนสุดของอาคาร หลังจากการกระตุ้นแบบสมการไซน์ครั้งแรก มีการใช้ขั้นตอนวิธีสำหรับระดับความเร่งคงที่เพื่อทดลองระบุค่าสหสัมพันธ์ระหว่างการเบี่ยงจากตำแหน่งเดิมของอาคารและการขจัดของมวลหน่วงปรับค่าที่เกิดจากแรง บันทึกเวลาที่แสดงในรูปที่ 12 แสดงเหตุการณ์ทดสอบของการสั่นกระตุ้น 2 เหตุการณ์ และสเปกตรัม FFT ที่เกี่ยวข้องแสดงการตอบสนองที่ชัดเจนของอาคารในความถี่พื้นฐานทั้งสองของอาคาร (ทิศทาง x และ y)  ส่วนของเวลาที่เป็นสีเขียวคือการกระตุ้นแบบสมการไซน์ของมวลโดยปิดใช้งานการควบคุมแบบแอคทีฟ ซึ่งทำให้เกิดการตอบสนองเชิงพลศาสตร์ในทิศทางหลักทั้งสอง สเปกตรัม FFT ที่เกิดขึ้นแสดงจุดสูงสุดสองจุดเพื่อระบุความถี่พื้นฐานในทั้งสองทิศทาง ส่วนของเวลาที่เป็นสีน้ำเงินคือการกระตุ้นที่เปิดใช้งานการควบคุมแบบแอคทีฟ ซึ่งทำให้การขจัดของอาคารเคลื่อนที่ไปในทิศทางหลักทิศทางเดียวได้คงที่ยิ่งขึ้น การลดลงของแรงสั่นสะเทือนที่เกิดขึ้นหลังจากปิดการสั่นกระตุ้นถูกนำไปใช้เพื่อระบุการหน่วงแรงสั่นสะเทือนของโครงสร้างโดยได้ค่า D=2.4% ผลลัพธ์นี้สัมพันธ์กับอัตราการหน่วงแรงสั่นสะเทือนที่ระบุโดยใช้ขั้นตอนวิธี SSI

    รูปที่ 16 - ซ้าย: บันทึกเวลาของความเร่งที่เกิดขึ้นที่ส่วนบนสุดของอาคารในระหว่างการกระตุ้นเทียม (เป็นสีเขียว: การกระตุ้นแบบสมการไซน์ / เป็นสีน้ำเงิน: การสั่นกระตุ้นที่มีการควบคุมด้วยการยับยั้งแรงในแกนหลักหนึ่งแกน – ขวา: สเปกตรัม FFT ที่เกี่ยวข้อง

    10.0 สรุปและการดำเนินงานในอนาคต

    มีการติดตั้งมวลหน่วงปรับค่าที่ใช้งานได้สองแบบ (Dual Use TMD) ไว้ในหอทดสอบ Thyssen Krupp สูง 246 ม. โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเจตนากระตุ้นให้อาคารหอทดสอบนี้สั่นจนเกิดการตอบสนองทางพลศาสตร์แบบมีการควบคุมถึงความถี่พื้นฐานของตัวอาคาร วัตถุประสงค์ของการกระตุ้นนี้คือเพื่อหาค่าการแกว่งของอาคารในสองทิศทางหลัก จากการคำนวณทางคณิตศาสตร์พบว่าต้องใช้มวลหน่วงปรับค่าขนาด 240 ตันเพื่อให้ได้การหน่วงแรงสั่นสะเทือนเพิ่มเติมที่เพียงพอสำหรับการสั่นแบบแพสซีฟ และเพื่อสร้างแรงควบคุมที่เพียงพอที่จะทำให้การขจัดที่ส่วนบนสุดของอาคารอยู่ในช่วง +/- 200 มม. มีการพัฒนาและทดสอบขั้นตอนวิธีการควบคุมด้วยการจําลองระเบียบวิธีเชิงตัวเลขเพื่อสร้างระดับการขจัดที่คงที่สำหรับการสั่นกระตุ้นและเพื่อยับยั้งการขจัดที่เกิดจากแรงลมและส่วนประกอบของแรงสั่นสะเทือนที่ถูกทำให้สั่นในทิศทางตั้งฉาก หลังจากการติดตั้งระบบมวลหน่วงปรับค่าแบบลูกตุ้มแพสซีฟที่ใช้แผ่นคอนกรีตสำเร็จรูปเป็นมวลต้าน (reaction mass) มีการเปิดใช้งานหัวขับและทำการทดสอบเป็นครั้งแรก การทดสอบแสดงให้เห็นว่าการหน่วงแรงสั่นสะเทือนตามธรรมชาติของอาคารสูงกว่าที่คาดไว้ แต่สามารถระบุการสั่นที่เกี่ยวข้องทั้งหมดได้อย่างชัดเจน การสั่นกระตุ้นแบบแอคทีฟของอาคารทำงานได้ผลและสามารถทำการทดสอบได้ แม้ว่าจะไม่ถึงขั้นที่จะค้นพบตัวแปรในการทำงานจริงทั้งหมดก็ตาม ทั้งนี้เป็นเพราะอาคารยังสร้างไม่เสร็จสมบูรณ์ และด้วยเหตุนี้ จึงยังไม่สามารถปรับแต่งมวลหน่วงปรับค่าแบบแพสซีฟให้เข้ากับความถี่พื้นฐานที่กำหนดได้

    ทันทีที่ปรับแต่งระบบมวลหน่วงปรับค่าได้แล้ว จะมีการทดสอบอาคารเพิ่มเติม ซึ่งจะรวมถึงการทดสอบเกี่ยวกับการหน่วงแรงสั่นสะเทือนที่ขึ้นอยู่กับแอมพลิจูดและการบูรณาการแนวคิดด้านความปลอดภัยด้วย

    เอกสารอ้างอิง

    [1] Wenzel, H.; Pichler, D.; Schedler, R. (1991). “Ambiente Schwingungsmessungen zur System und Schadenserkennung an Tragwerken”, Bauingenieur 74

     

    [2] Döhler, M.; Andersen, P.; Mevel, L. (2012). “การวิเคราะห์โมดอลปฏิบัติการโดยใช้วิธีการระบุสโตแคสติกอย่างรวดเร็ว”, การดำเนินการประชุมของสมาคมเพื่อการทดลองกลศาสตร์

     

    [3] Soong, T.T.; Spencer, J.R. (2000). “การควบคุมโครงสร้างแบบ Active, Semi-Active and hybrid” ในการประชุมระดับโลกครั้งที่ 12 สำหรับวิศวกรรมแผ่นดินไหว

     

    [4] Ricciardelli, F.; Pizzimenti, A.D.; Mattei, M. (2003). การควบคุมมวลหน่วงปรับค่าแบบพาสซีฟและแอคทีฟของการตอบสนองของอาคารสูงต่อลมกระโชกแรง. Eng. Struct., 25, 1199–1209

     

    [5] Yang, N.Y.; Agrawal, A.K.; Samali, B.; Wu, J.C. Benchmark Problem for Response Control of Wind-Excited Tall Buildings. J. Eng. Mech. 2004, 130, 437–446. 

     

    [6] Watakabe, M.; Tohdp, M.; Chiba, O.; Izumi, N.; Ebisawa, H.; Fujita, T. Response control performance of a hybrid mass damper applied to a tall building. Earthq. Eng. Struct. Dyn. 2001, 30, 1655–1676.

     

    [7] Tan, P.; Liu, Y.; Zhou, F.; Teng, J. Hybrid Mass Dampers for Canton Tower. CTBUH J. 2012, 24–29.

     

    [8] Soong, T.T. “Active Structural Control: Theory and Practice”; John Wiley & Sons, Inc.: New York, NY, USA, 1990

     

    [9] Preumont, A.; Kazuto, S. (2008). “Active Control of Structures”, Wiley, Padstow

    แชร์โพสต์นี้

    แชร์โพสต์นี้

    แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม

    หากคุณต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับหัวข้อนี้
    กรุณาติดต่อสอบถามเราได้เสมอ
    วิศวกรโครงการของเราจะตอบกลับคุณโดยเร็วที่สุด


      เว็บไซต์นี้ได้รับการปกป้องโดย reCAPTCHA และ Google และมีการใช้ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ เงื่อนไขการให้บริการ

      แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม

      หากคุณต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับหัวข้อนี้
      กรุณาติดต่อสอบถามเราได้เสมอ
      วิศวกรโครงการของเราจะตอบกลับคุณโดยเร็วที่สุด


        เว็บไซต์นี้ได้รับการปกป้องโดย reCAPTCHA และ Google และมีการใช้ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ เงื่อนไขการให้บริการ

        Scroll to Top
        Scroll to Top